กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พิชิตโรคเรื้อรัง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

หมู่ที่ 2,4,5 ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

 

45.58
2 ร้อยละผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

6.20

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลกและในประเทศไทย โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรไทย จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่พบว่า มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 160 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ถึง 62 คน (คิดเป็นร้อยละ 38.75) และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 56 คน โดยมีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จำนวน 23 คน (คิดเป็นร้อยละ 41.07) นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 13 คน(คิดเป็นร้อยละ 6.02)สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การดูแลรักษาและการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่มีการแก้ไข จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ รวมถึงเพิ่มอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การลดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การจัดการความเครียด และการใช้ยาอย่างถูกต้อง ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการควบคุมโรค ดังนั้น โครงการ "ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พิชิตโรคเรื้อรัง" จึงได้พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างเสริมความรู้ ทักษะ และแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน นำไปสู่การควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้สามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน  (มากว่าหรือเท่ากับ 60)

45.58 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2025

กำหนดเสร็จ 22/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบตุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน57คน งบประมาณ1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 57 คน x1 มื้อ x 60บาท เป็นเงิน 3,420บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 57คนx 2มื้อx25บาทเป็นเงิน 2,850บาท 3.จ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ แบบผนึกโฟมบอร์ด ขนาด 120*80 ซม จำนวน 1 แผ่นราคาแผ่นละ750 บาท 4.จ้างถ่ายเอกสารในการอบรม ขนาดA4จำนวน 100แผ่นๆละ25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท งบประมาณทั้งหมดจำนวน9,520 บาท หมายเหตุขอรับเงินเพียง9,500 บาท (เก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2568 ถึง 22 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น
  3. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้น
3. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง


>