กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันสู่ 2500 วัน เพื่อสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

PCU รพ.ยะรัง

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” คือ ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ
ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่หนึ่ง 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่สอง 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่สาม 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็งด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ในที่สุดมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์ (ANC)คุณภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดูแลการตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพป้องกันความเสี่ยงและลดภาวะแทรกซ้อนโลหิตจางและการคลอดก่อนกำหนด การฝากครรภ์ตามเกณฑ์ และการพัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC)คุณภาพทารก ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75)
จากการติดตามการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในเขต ตำบล ปิตูมุดี อำเภอ ยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 65.91 ฝากครรภ์คุณภาพ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65.91 อัตราการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 4.38 ในการติดตามข้อมูลเด็กปฐมวัย พบว่า ในเด็ก 0- 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 15.38 มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 50.26 มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 72.03 มีภาวะโลหิตจาง 40.48และผลการดำเนินงานด้านสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย พบว่าเด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 23.25 และพบว่า กลุ่มเด็กอายุ 18 เดือน มีฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 8.2และ เด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 41.48 และพบว่า กลุ่มเด็กอายุ 3ปีมีฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 32.47 ซึ่งบ่งชี้ว่าปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขเนื่องจากส่งผลต่อปัญหาภาวะ เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็ก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กโภชนการและการเจริญเติบโตตามวัยได้
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลยะรังร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี ตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

- เพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์
- เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์คุณภาพและลดภาวะแทรกซ้อนการคลอดก่อนกำหนด
- เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีโภชนการสูงดีสมส่วนและมีพัฒนาการตามวัย
- เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็กปฐมวัย 5ด้าน
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่แกนนำอสม.และภาคีเครือข่ายให้เกิดการมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
หญิงตั้งครรภ์ ผู้ดูแลเด็ก มารดาหลังคลอด 50
แกนนำ อสม. และภาคีเตรือข่าย 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่่1 อบรมและชี้แจงรายละเอียดโครงการตำบล มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบล มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน แก่แกนนำอสมและภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่่1 อบรมและชี้แจงรายละเอียดโครงการตำบล มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบล มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน แก่แกนนำอสมและภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน4,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
    -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2 อบรม หญิงตั้งครรภ์ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มารดาหลังคลอด ในการส่งเสริมศักยภาพการดูแลเด็กปฐมวัย 5 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2 อบรม หญิงตั้งครรภ์ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มารดาหลังคลอด ในการส่งเสริมศักยภาพการดูแลเด็กปฐมวัย 5 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน    4,000 บาท
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
    -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
3.ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลเด็กปฐมวัย 5ด้าน ได้อย่างถูกต้อง
4. เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัย


>