แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี รหัส กปท. L3030
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” คือ ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ
ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่หนึ่ง 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่สอง 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่สาม 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็งด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ในที่สุดมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์ (ANC)คุณภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดูแลการตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพป้องกันความเสี่ยงและลดภาวะแทรกซ้อนโลหิตจางและการคลอดก่อนกำหนด การฝากครรภ์ตามเกณฑ์ และการพัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC)คุณภาพทารก ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75)
จากการติดตามการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในเขต ตำบล ปิตูมุดี อำเภอ ยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 65.91 ฝากครรภ์คุณภาพ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65.91 อัตราการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 4.38 ในการติดตามข้อมูลเด็กปฐมวัย พบว่า ในเด็ก 0- 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 15.38 มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 50.26 มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 72.03 มีภาวะโลหิตจาง 40.48และผลการดำเนินงานด้านสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย พบว่าเด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 23.25 และพบว่า กลุ่มเด็กอายุ 18 เดือน มีฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 8.2และ เด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 41.48 และพบว่า กลุ่มเด็กอายุ 3ปีมีฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 32.47 ซึ่งบ่งชี้ว่าปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขเนื่องจากส่งผลต่อปัญหาภาวะ เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็ก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กโภชนการและการเจริญเติบโตตามวัยได้
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลยะรังร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี ตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล
- 1. กิจกรรมที่่1 อบรมและชี้แจงรายละเอียดโครงการตำบล มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบล มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน แก่แกนนำอสมและภาคีเครือข่ายรายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน4,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
งบประมาณ 10,500.00 บาท - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน4,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
- 2. กิจกรรมที่2 อบรม หญิงตั้งครรภ์ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มารดาหลังคลอด ในการส่งเสริมศักยภาพการดูแลเด็กปฐมวัย 5 ด้านรายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
งบประมาณ 10,500.00 บาท - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คนละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ตำบลปิตูมุดี
รวมงบประมาณโครงการ 21,000.00 บาท
1.เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
3.ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลเด็กปฐมวัย 5ด้าน ได้อย่างถูกต้อง
4. เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัย
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี รหัส กปท. L3030
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี รหัส กปท. L3030
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................