กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตาวิเศษพิชิตเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่แกนนำนักเรียนโรงเรียนประตูโพธิ์ตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตาวิเศษพิชิตเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่แกนนำนักเรียนโรงเรียนประตูโพธิ์ตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

PCU รพ.ยะรัง

ปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ มีการระบาดไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม – 3 กันยายน พ.ศ. 2562 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยมีแนวโน้นสูงและมีระดับความรุนแรงสูงสุดในรอบ 5 ปี พบผู้ป่วยจำนวน 81,500 อัตราป่วย 123.37 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 89 ราย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กโต วัยผู้ใหญ่ตอนต้น และผู้สูงอายุ ตามลำดับ ในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมาก ซึ่งมีการกระจายตามพื้นที่ต่างๆ และประสบปัญหามาตลอด ทำให้จำนวนผู้ป่วยใน พ.ศ. 2562 มีรายงานโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 820 ราย ไม่มีเสียชีวิต และอำเภอยะรัง พบผู้ป่วยจำนวน 176 ราย อัตราป่วย 193.1ต่อแสนประชากรโดยมีผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดปัตตานี และอันดับ 10 จาก 878 อำเภอของประเทศไทย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในตำบลปิตูมุดี พบผู้ป่วยจำนวน 24 ราย อัตราป่วย 380.95ต่อแสนประชากรโดยมีผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของอำเภอยะรัง ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกมีวัคซีนสำหรับป้องกันแต่การนำมาใช้ยังมีข้อจำกัด ดังนั้นการป้องกันจึงมุ่งเน้นที่การควบคุมยุงพาหะและการป้องกันส่วนบุคคล เพื่อไม่ให้รับเชื้อจากยุงพาหะนั้น ตลอดจนการควบคุมยุงลายโดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ อาทิ แหล่งน้ำขังภายในบ้าน เช่น ตุ่มขังน้ำภายในบ้าน จานรองขาตู้ แจกันดอกไม้ เป็นต้น และแหล่งน้ำขังภายนอกบ้าน เช่น ตุ่มขังน้ำภายนอกบ้าน จานรองกระถางต้นไม้ โพรงไม้ กะลา เป็นต้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกและน้ำฝนที่มีส่วนในการกระจายของยุงลายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น ฤดูฝน จะมีความชื้นสูง เหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของยุงลาย จึงส่งผลให้ประชากรยุงลายมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเข้าถึงประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนตำบลปิตูมุดี ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
2. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนในการสอดส่อง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. เพื่อคัดเลือกบุคคลต้นแบบนักเรียนในการสอดส่อง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
4. เพื่อรณรงค์ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจง เพื่อจัดทำโครงการฯและกิจกรรม
  2. พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน 25 คน * 80 บาท* 1 มื้อ * 2 วันเป็นเงิน4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 คน * 35 บาท* 2 มื้อ * 2 วันเป็นเงิน 3,500 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน* 600 บาท* 3 ชั่วโมง * 2 วันเป็นเงิน 3,600 บาท
รวมเป็นเงิน 11,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งชมรมแกนนำนักเรียนรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ ยุงลายในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งชมรมแกนนำนักเรียนรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ ยุงลายในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกครัวเรือนละแวกบ้านของแกนนำนักเรียน
  2. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยแกนนำนักเรียน
    โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
    กิจกรรมพ่นกำจัดยุงลาย พ่นใบกอนกำจัดยุงลายดำเนินการครัวเรือนที่ระบาดในหมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลปิตูมุดี กิจกรรมแจกทรายอะเบท แจกทรายอะเบทดำเนินการครัวเรือนและบริเวณที่ระบาดรัศมี 100 เมตร ในพื้นที่ตำบลปิตูมุดี
    กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รณรงค์ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์
  3. แกนนำนักเรียนสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ
  4. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน 25 คน * 80 บาท* 1 มื้อ * 2 วันเป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 คน * 35 บาท* 2 มื้อ * 2 วันเป็นเงิน 3,500 บาท
รวมเป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประกวดบุคคลต้นแบบ “ตาวิเศษพิชิตเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประกวดบุคคลต้นแบบ “ตาวิเศษพิชิตเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำนักเรียนโรงเรียนประตูโพธิ์  ในการสอดส่อง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกคัดเลือกตามเกณฑ์การประเมิน

งบประมาณ ค่ารางวัลบุคคลต้นแบบ
รางวัลที่ 1      เป็นเงิน 1,500 บาท
รางวัลที่ 2      เป็นเงิน 1,000 บาท
รางวัลที่ 3      เป็นเงิน   500 บาท
              รวมเป็นเงิน  3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. จำนวนอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
๒. ทำให้นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. ทำให้แกนนำประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง


>