กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตาวิเศษพิชิตเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่แกนนำนักเรียนโรงเรียนประตูโพธิ์ตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L3030-68-01-0004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ PCU รพ.ยะรัง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 22,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรวีวรรณ แก้วดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ มีการระบาดไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม – 3 กันยายน พ.ศ. 2562 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยมีแนวโน้นสูงและมีระดับความรุนแรงสูงสุดในรอบ 5 ปี พบผู้ป่วยจำนวน 81,500 อัตราป่วย 123.37 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 89 ราย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กโต วัยผู้ใหญ่ตอนต้น และผู้สูงอายุ ตามลำดับ ในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมาก ซึ่งมีการกระจายตามพื้นที่ต่างๆ และประสบปัญหามาตลอด ทำให้จำนวนผู้ป่วยใน พ.ศ. 2562 มีรายงานโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 820 ราย ไม่มีเสียชีวิต และอำเภอยะรัง พบผู้ป่วยจำนวน 176 ราย อัตราป่วย 193.1ต่อแสนประชากรโดยมีผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดปัตตานี และอันดับ 10 จาก 878 อำเภอของประเทศไทย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในตำบลปิตูมุดี พบผู้ป่วยจำนวน 24 ราย อัตราป่วย 380.95ต่อแสนประชากรโดยมีผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของอำเภอยะรัง ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกมีวัคซีนสำหรับป้องกันแต่การนำมาใช้ยังมีข้อจำกัด ดังนั้นการป้องกันจึงมุ่งเน้นที่การควบคุมยุงพาหะและการป้องกันส่วนบุคคล เพื่อไม่ให้รับเชื้อจากยุงพาหะนั้น ตลอดจนการควบคุมยุงลายโดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ อาทิ แหล่งน้ำขังภายในบ้าน เช่น ตุ่มขังน้ำภายในบ้าน จานรองขาตู้ แจกันดอกไม้ เป็นต้น และแหล่งน้ำขังภายนอกบ้าน เช่น ตุ่มขังน้ำภายนอกบ้าน จานรองกระถางต้นไม้ โพรงไม้ กะลา เป็นต้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกและน้ำฝนที่มีส่วนในการกระจายของยุงลายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น ฤดูฝน จะมีความชื้นสูง เหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของยุงลาย จึงส่งผลให้ประชากรยุงลายมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเข้าถึงประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนตำบลปิตูมุดี ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2568

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 0 11,100.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประกวดบุคคลต้นแบบ “ตาวิเศษพิชิตเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่” 0 3,750.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งชมรมแกนนำนักเรียนรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ ยุงลายในหมู่บ้าน 0 7,500.00 -
รวม 0 22,350.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. จำนวนอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
๒. ทำให้นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. ทำให้แกนนำประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2568 00:00 น.