2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุข ย้ำจุดยืนยุติการใช้ 3 สารเคมีอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเสต และคลอไพริฟอส กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของประชาชน สารเคมีที่ใช้ไม่ได้เกิดอันตรายเฉพาะตัวเกษตรกรผู้ใช้ที่เกิดจากการสัมผัส แต่ยังส่งผลต่อเนื่องไปยังผู้บริโภค เพราะสารเคมีจะแพร่ลงในดิน แหล่งน้ำ ผัก-ผลไม้ที่ปลูกจะมีสารเคมีอยู่ภายในเนื้อเยื่อ และมีผลทางการแพทย์ชัดเจนว่าสามารถดูดซึมเข้าไปในร่างกายทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ได้
ตำบลบ้านขาวเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน ทำไร่ ทำนาปีทำนาปลัง ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูง จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่จำนวนมาก ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางรายการเป็นสารต้องห้าม ประชาชนยังขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว ได้เล็งเห็นว่าการจัดอบรมความรู้แก่เกษตรกรในตำบลบ้านขาว จะช่วยส่งเสริมให้ เกษตรกรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และมีความรู้ในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีต้องห้ามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนที่ถูกวิธีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว จึงได้จัดทำโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัยปี 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีต้องห้ามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนที่ถูกวิธี
2. เกษตรกรและประชาชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ร่วมโครงการได้รับการตรวจสารตกค้างในเลือดและเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัยทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม