กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L5222-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 19,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมสมร สังข์ศิลป์ชัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุข ย้ำจุดยืนยุติการใช้ 3 สารเคมีอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเสต และคลอไพริฟอส กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของประชาชน สารเคมีที่ใช้ไม่ได้เกิดอันตรายเฉพาะตัวเกษตรกรผู้ใช้ที่เกิดจากการสัมผัส แต่ยังส่งผลต่อเนื่องไปยังผู้บริโภค เพราะสารเคมีจะแพร่ลงในดิน แหล่งน้ำ ผัก-ผลไม้ที่ปลูกจะมีสารเคมีอยู่ภายในเนื้อเยื่อ และมีผลทางการแพทย์ชัดเจนว่าสามารถดูดซึมเข้าไปในร่างกายทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ได้ ตำบลบ้านขาวเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน ทำไร่ ทำนาปีทำนาปลัง ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูง จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่จำนวนมาก ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางรายการเป็นสารต้องห้าม ประชาชนยังขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว ได้เล็งเห็นว่าการจัดอบรมความรู้แก่เกษตรกรในตำบลบ้านขาว จะช่วยส่งเสริมให้ เกษตรกรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และมีความรู้ในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีต้องห้ามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนที่ถูกวิธีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว จึงได้จัดทำโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัยปี 2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรที่ใช้ยาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรและประชาชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ร่วมโครงการได้รับการตรวจสารตกค้างในเลือดและเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัยทุกคน  ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

0.00
2 เพื่อให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารเคมีปนเปื้อนแก่เกษตรกร

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารเคมีปนเปื้อนแก่เกษตรกร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,600.00 0 0.00
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 คน 0 6,400.00 -
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารเคมีปนเปื้อน จำนวน 60 คน 0 13,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีต้องห้ามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนที่ถูกวิธี
  2. เกษตรกรและประชาชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ร่วมโครงการได้รับการตรวจสารตกค้างในเลือดและเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัยทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2568 00:00 น.