กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพ่อแม่ช่วยดูแล ฟันน้ำนมลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านขาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว

ตำบลบ้านขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพในช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพในร่างการ เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิต เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสม เพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีพัฒนาการตามวัย ปัจจุบันเด็กได้รับการการเอาใจใส่น้อยลง เด็กบางส่วนจึงมีปัญหาสุขภาพอนามัยซึ่งส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กด้านสติปัญญาและความสามารถในการเรียรรู้ โรคฟันผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาสุขภาพหนึ่งที่พบมากในวัยเด็กอีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันย้อยกว่าฟันแท้ และฟันผุในระยะเริ่มแรกสามารถลุกลามได้ในเวลา 6 - 12 เดือน การป้องกันฟันผุในเด็กปฐมวัยต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก เื่อช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุในวัยเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ตะหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโดครงการพ่อแม่ช่วยดูแล ฟันน้ำนมลูก เพื่อให้ผู้ปกครองในเด็ก ศูนย์เด็กเล็กมีความรู้ ความสามารถ รวมถึงการตะหนัก ในการดูแลสุขภาพช่องปากในบุตรหลานในความดูแลของท่านต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเด็กได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้เด็ก 3 - 5 ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์วานิช

เด็ด 3 - 5 ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์วานิช มากกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 74
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เด็ก 3 - 5 ปี ได้รับการตรวจช่องปากพร้อมทาฟลูไรด์

ชื่อกิจกรรม
เด็ก 3 - 5 ปี ได้รับการตรวจช่องปากพร้อมทาฟลูไรด์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดแปรงสัพันเด็ก ชุดละ 80 บาท คนละ 1 ชุด (74x80) เป็นเงิน 5,900 บาท

  • อุปกรณ์สาธิตการแปรงฟันสำหรับเด็ก (dental model) ราคา 1,750 บาท

  • Fluoride หลอดละ 900 บาท จำนวน 4 หลอด (4x900) เป็นเงิน 3,600 บาท

  • พู่กัน 4 กระปุก กระปุกละ 280 บาท (4x70) เป็นเงิน 600 บาท

  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท (ศพด.ละ 2 ชั่วโมง x 600 บาท) = 1,200 บาท ทั้งหมด 3 ศพด. =3,600 บาท) เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าป้ายโครงการ 600 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,730 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,730.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กในศูนย์เด็กเล็กได้รับบริการตรวสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช
2. เด็กในศูนย์เด็กเล็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการบริการทันตกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. ผู้ปกครองมีความรู้ และความสามารถทำความสะอาดช่องปากให้เด็กได้อย่างถูกวิธี


>