กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง รวมพลังภาคีเครือข่าย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง (นางวิธุพร ด้วงเกต)

1.นางวิธุพร ด้วงเกต
2.นางวิลาวัลย์ เกตนะ
3.นางสมศรี จีนชาวนา
4.นายกิตติยศ ยอดราช
5.นางพัชรี ขวัญแก้ว

หมู่ที่ 3-4-5-9 ตำบลนาขยาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก(ต่อแสนปชก.)

 

50.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเกาะยาง ในปี 2567 พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 422.47 ต่อแสนประชากร และค่ามัธยฐานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง เท่ากับ 3 ราย ซึ่งเกินค่ามัธยฐาน ถือได้ว่ามีการระบาดของโรคอยู่ แต่ไม่มีการเสียชีวิตเนื่องจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องทันเวลา ทำให้สามารถลดและป้องกันการเสียชีวิตได้การมีส่วนร่วมของระบบสุขภาพภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ,อสม. ,เทศบาล. ,กรรมการหมู่บ้าน ได้ร่วมกันทำการออกสำรวจ ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยอาศัยกลวิธี การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ
ดังนั้น ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อการควบคุมโรค เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดจำนวนการเกิดผู้ป่วยรายใหม่/ป้องกันผู้ป่วยตาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด ไม่ให้เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อยหลัง

2.00 1.00
2 1. หมู่บ้าน/ชุมชน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์มาตรฐาน (ค่า HI น้อยกว่า/เท่ากับ 5และค่า CI=0)

2.เกิดความร่วมมือระหว่าง ประชาชน หน่วยงานของรัฐในพื้นที่ ในการมีส่วนร่วมในการควบคุม และปฎิบัติ สม่ำเสมอ ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 5 และไม่พบลูกน้ำยุงลายในสถานที่ ราชการ

5.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทุกกลุ่มวัย 2,613

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน งบประมาณ
- ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจและแบบสรุปลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3,000 ใบฯละ 0.50 บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ผลลัพธ์ ค่าHI และค่า CI ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย สลับไขว้หมู่บ้านโดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. จำนวน 2 วัน มื้อละ 25 บาท × 4 มื้อ จำนวน 72 คน เป็นเงิน 7,200 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันกิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. จำนวน 2 วัน มื้อละ 60 บาท × 2 มื้อ × 72 คน เป็นเงิน 8,640 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรในชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15840.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกันโรคล่วงหน้า และควบคุมป้องกันการระบาดของโรคกรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันโรคล่วงหน้า และควบคุมป้องกันการระบาดของโรคกรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

• ค่าจัดซื้อทรายเคมี เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ถังๆละ 4,000.- บาท เป็นเงิน 12,000.- บาท
• ค่าน้ำยาพ่นกำจัดยุง ขนาด 1 ลิตร ขวดละ 1,650.- บาท จำนวน 1 ขวด เป็นเงิน 1,650.- บาท
• ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงครั้งละ 200.- บาท จำนวน 3 ครั้ง/ผู้ป่วย 1 คน เป็นเงิน 600.- บาท (ผู้ป่วย 6 คน) เป็นเงิน 3,600.- บาท
• ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงป้องกันโรคในโรงเรียน จำนวน 2 ครั้ง/โรง จำนวน 2 โรง ครั้งละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
• ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงป้องกันโรคในวัด จำนวน 2 ครั้ง จำนวนวัด 2 แห่ง ครั้งละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
• ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 300 ซองๆละ 7 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
• ค่าสเปรย์พ่นยุง ขนาด 300 มล. จำนวน 40 ขวดๆละ 80 บาทเป็นเงิน 3,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ไม่เกิน 5 ทุกหมู่บ้าน และไม่พบลูกน้ำยุงลายในสถานที่ราชการ วัด โรงเรียน
-ไม่มีผู้ป่วยต่อเนื่องรายที่ 2 กรณีพบผู้ป่วยรายแรกของเคสผู้ป่วยไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,490.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และไม่เกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
2. ค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลาย HI ในหมู่่บ้าน ไม่เกินร้อยละ 5
3. ค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลาย CI ในโรงเรียนวัด สถานที่ราชการ สถานประกอบการ เท่ากับ 0


>