โครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง รวมพลังภาคีเครือข่าย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง รวมพลังภาคีเครือข่าย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3320-02-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง (นางวิธุพร ด้วงเกต) |
วันที่อนุมัติ | 6 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 9 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 41,490.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง (นางวิธุพร ด้วงเกต) |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก(ต่อแสนปชก.) | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเกาะยาง ในปี 2567 พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 422.47 ต่อแสนประชากร และค่ามัธยฐานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง เท่ากับ 3 ราย ซึ่งเกินค่ามัธยฐาน ถือได้ว่ามีการระบาดของโรคอยู่ แต่ไม่มีการเสียชีวิตเนื่องจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องทันเวลา ทำให้สามารถลดและป้องกันการเสียชีวิตได้การมีส่วนร่วมของระบบสุขภาพภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ,อสม. ,เทศบาล. ,กรรมการหมู่บ้าน ได้ร่วมกันทำการออกสำรวจ ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยอาศัยกลวิธี การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้น ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อการควบคุมโรค เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดจำนวนการเกิดผู้ป่วยรายใหม่/ป้องกันผู้ป่วยตาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด ไม่ให้เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อยหลัง |
2.00 | 1.00 |
2 | 1. หมู่บ้าน/ชุมชน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์มาตรฐาน (ค่า HI น้อยกว่า/เท่ากับ 5และค่า CI=0) 2.เกิดความร่วมมือระหว่าง ประชาชน หน่วยงานของรัฐในพื้นที่ ในการมีส่วนร่วมในการควบคุม และปฎิบัติ สม่ำเสมอ ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 5 และไม่พบลูกน้ำยุงลายในสถานที่ ราชการ |
5.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 41,490.00 | 0 | 0.00 | |
8 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน | 0 | 1,500.00 | - | ||
8 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมป้องกันโรคล่วงหน้า และควบคุมป้องกันการระบาดของโรคกรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก | 0 | 24,150.00 | - | ||
19 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. | 0 | 15,840.00 | - |
- ลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และไม่เกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
- ค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลาย HI ในหมู่่บ้าน ไม่เกินร้อยละ 5
- ค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลาย CI ในโรงเรียนวัด สถานที่ราชการ สถานประกอบการ เท่ากับ 0
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2568 11:15 น.