กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

1. อาจารย์ ดร.สุพัสจี เดชทิพย์พรพงศ์
2. อาจารย์อธิพงศ์ มุณีโน
3. อาจารย์จณิศาภ์ แนมใส
4. อาจารย์รัตติกาล เรืองฤทธิ์
5. อาจารย์ปุญณพัฒน์ ชำนาญเพาะ

เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโลกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงอายุ” หลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์สถานการณ์ ดังกล่าวสะท้อนภาวะสุขภาพของประชากร ภาระการดูแลของครอบครัวรวม ระบบบริการสุขภาพ และสวัสดิการด้านสังคม การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยพาะโรคเบาหวาน จากการรายงานของสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ ในปีพ.ศ. 2564 พบว่าประชากรผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเบาหวานมีประชากร 537 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 10.5 ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน และคาดว่าจำนวนจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 643 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2573 และ 783 ล้านคนในปีพ.ศ. 2588 ตามลำดับ ต่อเนื่อง (กานต์ เวชอภิกุล,2566) สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยจากการสำรวจความชุกของเบาหวานในประชากรผู้สูงอายุ พบความชุกร้อยละ 8.9 ในปี พ.ศ. 2564 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.5 ในปี พ.ศ. 2566 (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย , 2565) นอกจากนั้นยังพบว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ใน ปี 2567 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอัตราร้อยละ 58.37 (กระทรวงสาธารณสุข ,2567) ประชากรผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เป็นกลุ่มที่มีปัญหาด้านการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งภาวะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยเฉพาะภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่เสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิตหากแก้ไขไม่ทัน และมีภาวะแทรกซ้อนกับหลอดเลือด เช่น ไตวายเรื้อรังที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ระบบการรับรู้ความรู้สึกลดลง และเท้าติดเชื้อ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลง เกิดความสูญเสียทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม (วนิดา แซ่เฮง ,2567) พื้นที่ตำบลบ้านพร้าวมีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดบริการที่ช่วยสนับสนุนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในฐานะหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่ ในการส่งนิสิตพยาบาลลงไปฝึกปฏิบัติงานในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ และการพยาบาลอนามัยชุมชน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาสุขภาพดังกล่าวให้กับประชากรกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมสนันสนุนให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ อันจะนำไปสู่การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีความรู้ในการดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีความรู้ในการดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ สามารถปฏิบัติตัว เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

80.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้รับการดูแลและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท รวมเป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 60 กล่องๆละ 390 บาท (50แถบ/กล่อง) รวมเป็นเงิน 23,400 บาท
  • ค่าเครื่องเจาะระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 3 เครื่องๆ ละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง 2. ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้สูงอายุรายอื่นได้ร้อยละ80/ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,300.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
3. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 80


>