กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
รหัสโครงการ 68-L3346-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 30,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์ ดร.สุพัสจี เดชทิพย์พรพงศ์ /คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2568 30 ก.ย. 2568 30,300.00
รวมงบประมาณ 30,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโลกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงอายุ” หลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์สถานการณ์ ดังกล่าวสะท้อนภาวะสุขภาพของประชากร ภาระการดูแลของครอบครัวรวม ระบบบริการสุขภาพ และสวัสดิการด้านสังคม การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยพาะโรคเบาหวาน จากการรายงานของสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ ในปีพ.ศ. 2564 พบว่าประชากรผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเบาหวานมีประชากร 537 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 10.5 ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน และคาดว่าจำนวนจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 643 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2573 และ 783 ล้านคนในปีพ.ศ. 2588 ตามลำดับ ต่อเนื่อง (กานต์ เวชอภิกุล,2566) สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยจากการสำรวจความชุกของเบาหวานในประชากรผู้สูงอายุ พบความชุกร้อยละ 8.9 ในปี พ.ศ. 2564 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.5 ในปี พ.ศ. 2566 (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย , 2565) นอกจากนั้นยังพบว่าจำนวนประชากรในประเทศไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ใน ปี 2567 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอัตราร้อยละ 58.37 (กระทรวงสาธารณสุข ,2567) ประชากรผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เป็นกลุ่มที่มีปัญหาด้านการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งภาวะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยเฉพาะภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่เสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิตหากแก้ไขไม่ทัน และมีภาวะแทรกซ้อนกับหลอดเลือด เช่น ไตวายเรื้อรังที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ระบบการรับรู้ความรู้สึกลดลง และเท้าติดเชื้อ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลง เกิดความสูญเสียทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม (วนิดา แซ่เฮง ,2567) พื้นที่ตำบลบ้านพร้าวมีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดบริการที่ช่วยสนับสนุนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในฐานะหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่ ในการส่งนิสิตพยาบาลลงไปฝึกปฏิบัติงานในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ และการพยาบาลอนามัยชุมชน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาสุขภาพดังกล่าวให้กับประชากรกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมสนันสนุนให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ อันจะนำไปสู่การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีความรู้ในการดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีความรู้ในการดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ สามารถปฏิบัติตัว เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

80.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้รับการดูแลและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,300.00 0 0.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 0 30,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  3. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 00:00 น.