2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable diseases : NCDs) เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญอันดับแรกของโลก จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี พ.ศ. 2564 รายงานสถิติผู้เสียชีวิตจากโรคติดต่อไม่เรื้อรังจำนวน 43 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 45 และในจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวอายุน้อยกว่า 70 ปีจำนวน 18 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 82 ปี และในปี พ.ศ. 2565 เสียชีวิตจำนวน 41 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74 สาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง การเสียชีวิตเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสุขภาวะ เศรษฐกิจ และสังคม (WHO, 2025) สำหรับประเทศไทยการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs พบว่าอยู่ใน 10 อันดับแรกจำนวน 400,000 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 81 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และจากสถานการณ์อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (อายุ 30-69 ปี) ด้วยโรค NCDs ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 มีอัตราการเสียชีวิตลดลง 118.85, 117.3, 118.14, 114.22 และ112.76 ต่อประชากร 100,000 คน ตามลำดับ (กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ, 2566) นอกจากนี้ จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยข้อมูลจาก Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2565 อัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พ.ศ. 2565 พบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 7,33.7 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 15,109.6 ต่อประชากรแสนคน รวมทั้งอัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 554.8 ต่อประชากรแสนคน และโรคหลอดเลือดสมอง 731.5 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ทางทีมคณะผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non Communicable Diseases: NCDs) และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย (พ.ศ. 2566-2570) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยโดยทุกภาคส่วนมีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในการคุ้มครอง ป้องกัน ควบคุม NCDs อย่างเป็นธรรม ให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองให้พ้นจากโรค NCDs ที่ป้องกันได้อย่างยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้***
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ร้อยละ 50 ของประชาชนอายุ 50 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ
2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค
3. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรค