กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non Communicable Diseases: NCDs)
รหัสโครงการ 68-L3346-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 39,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์มุขรินทร์ ทองหอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2568 30 ก.ย. 2568 39,500.00
รวมงบประมาณ 39,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable diseases : NCDs) เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญอันดับแรกของโลก จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี พ.ศ. 2564 รายงานสถิติผู้เสียชีวิตจากโรคติดต่อไม่เรื้อรังจำนวน 43 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 45 และในจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวอายุน้อยกว่า 70 ปีจำนวน 18 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 82 ปี และในปี พ.ศ. 2565 เสียชีวิตจำนวน 41 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74 สาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง การเสียชีวิตเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสุขภาวะ เศรษฐกิจ และสังคม (WHO, 2025) สำหรับประเทศไทยการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs พบว่าอยู่ใน 10 อันดับแรกจำนวน 400,000 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 81 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และจากสถานการณ์อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (อายุ 30-69 ปี) ด้วยโรค NCDs ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 มีอัตราการเสียชีวิตลดลง 118.85, 117.3, 118.14, 114.22 และ112.76 ต่อประชากร 100,000 คน ตามลำดับ (กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ, 2566) นอกจากนี้ จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยข้อมูลจาก Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2565 อัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พ.ศ. 2565 พบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 7,33.7 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 15,109.6 ต่อประชากรแสนคน รวมทั้งอัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 554.8 ต่อประชากรแสนคน และโรคหลอดเลือดสมอง 731.5 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ทางทีมคณะผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non Communicable Diseases: NCDs) และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย (พ.ศ. 2566-2570) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยโดยทุกภาคส่วนมีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในการคุ้มครอง ป้องกัน ควบคุม NCDs อย่างเป็นธรรม ให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองให้พ้นจากโรค NCDs ที่ป้องกันได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอายุ 50 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้า

แบบคัดกรองภาวะสุขภาพโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง ใช้แบบประเมิน Thai CV risk score และภาวะซึมเศร้า ใช้แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (Patient Health Questionnaire: PHQ-9)

80.00 80.00
2 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้า

ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้า ใช้แบบประเมินความรู้

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,500.00 0 0.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมคัดกรอง ประชาชนอายุ 50 ปีขึ้นไปตรวจคัดกรอง โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติอต่อ 0 9,000.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้/ประเมินความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันและปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติอต่อ 0 17,000.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมติดตามผลการปฏิบัติตัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระยะเวลา 1,3 และ 6 เดือน 0 13,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 50 ของประชาชนอายุ 50 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ
  2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค
  3. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 00:00 น.