2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สถานการณ์ด้านสุขภาพของเทศบาลเมืองพัทลุง ปัจจุบันสาเหตุการป่วยร้อยละ ๗๑ มีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อ สาเหตุการตายเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น และโรคเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งโรคเหล่านี้ เมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะทนทุกข์ทรมานจากการรักษา ที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ รวมถึงได้รับการรักษาที่มุ่งยื้อชีวิตแม้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมถึงการตัดสินใจเลือก ทางเลือกของการรักษาต่างๆที่มักกระทำโดยครอบครัวโดยผู้ป่วยไม่มีส่วนร่วม ซึ่งบางครั้งการรักษาดังกล่าวอาจไม่ใช่แนวทางที่ ผู้ป่วยต้องการ palliative care เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานเมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย โดยจุดมุ่งหมายของ palliative care คือการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ในผู้ป่วยที่โรครักษาไม่ได้หรือรักษาลำบาก หลักการของ palliative care คือ การยอมรับในเวลาที่เหลืออยู่โดยไม่ไปยืดหรือเร่งเวลาที่เหลือ แต่ดูแลให้ผู้ป่วยมีสมรรถนะและคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเวลาที่เหลืออยู่ โดยการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอาการปวดและอาการไม่สุขสบายอื่นๆ การดูแลประคับประคองด้านจิตใจ สังคม และด้านจิตวิญญาณ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ สําหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิต ซึ่งไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย ผ่านกระบวนการป้องกันและบรรเทาความ ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ซึ่งมิใช่เป็นเพียงอาการของความผิดปกติทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นผลลัพธ์ที่ เกิดจากสภาวะทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วย รวมทั้งการให้คําแนะนําต่อญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ในการ เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
จากข้อมูลในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 25 คน ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานเกิดความเจ็บปวดจากโรคและมีแผล อาการหอบเหนื่อยเป็นต้น และผู้ป่วยมีความต้องการเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้าน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว เทศบาลเมืองพัทลุงได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลประคับประคองอย่างเป็นองค์รวม ที่บ้านอย่างเหมาะสมลดความทุกข์ทรมานที่จะเกิดขึ้น และเป็นการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตตามหลักศาสนาของแต่ละบุคคลเพื่อการจากไปอย่างสงบ ครอบครัวสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 09/06/2025
กำหนดเสร็จ 19/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?