แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง รหัส กปท. L7572
อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สถานการณ์ด้านสุขภาพของเทศบาลเมืองพัทลุง ปัจจุบันสาเหตุการป่วยร้อยละ ๗๑ มีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อ สาเหตุการตายเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น และโรคเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งโรคเหล่านี้ เมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะทนทุกข์ทรมานจากการรักษา ที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ รวมถึงได้รับการรักษาที่มุ่งยื้อชีวิตแม้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมถึงการตัดสินใจเลือก ทางเลือกของการรักษาต่างๆที่มักกระทำโดยครอบครัวโดยผู้ป่วยไม่มีส่วนร่วม ซึ่งบางครั้งการรักษาดังกล่าวอาจไม่ใช่แนวทางที่ ผู้ป่วยต้องการ palliative care เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานเมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย โดยจุดมุ่งหมายของ palliative care คือการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ในผู้ป่วยที่โรครักษาไม่ได้หรือรักษาลำบาก หลักการของ palliative care คือ การยอมรับในเวลาที่เหลืออยู่โดยไม่ไปยืดหรือเร่งเวลาที่เหลือ แต่ดูแลให้ผู้ป่วยมีสมรรถนะและคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเวลาที่เหลืออยู่ โดยการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอาการปวดและอาการไม่สุขสบายอื่นๆ การดูแลประคับประคองด้านจิตใจ สังคม และด้านจิตวิญญาณ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ สําหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิต ซึ่งไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย ผ่านกระบวนการป้องกันและบรรเทาความ ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ซึ่งมิใช่เป็นเพียงอาการของความผิดปกติทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นผลลัพธ์ที่ เกิดจากสภาวะทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วย รวมทั้งการให้คําแนะนําต่อญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ในการ เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
จากข้อมูลในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 25 คน ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานเกิดความเจ็บปวดจากโรคและมีแผล อาการหอบเหนื่อยเป็นต้น และผู้ป่วยมีความต้องการเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้าน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว เทศบาลเมืองพัทลุงได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลประคับประคองอย่างเป็นองค์รวม ที่บ้านอย่างเหมาะสมลดความทุกข์ทรมานที่จะเกิดขึ้น และเป็นการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตตามหลักศาสนาของแต่ละบุคคลเพื่อการจากไปอย่างสงบ ครอบครัวสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
-
1. พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน โดยชุมชนมีส่วนร่วมตัวชี้วัด : มีระบบอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชนขนาดปัญหา 25.00 เป้าหมาย 25.00
-
2. เพื่่อติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแบบองค์รวม เพื่อลดความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย และพร้อมเผชิญความตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยแบบประคับประคองได้รับการเยี่ยมดูแลแบบองค์รวมขนาดปัญหา 25.00 เป้าหมาย 25.00
-
3. เพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ยาและเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยแบบประคับประคองได้รับการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลและอุปกรณ์ที่จำเป็นขนาดปัญหา 25.00 เป้าหมาย 25.00
- 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดแนวทางและวางแผนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยประคับประคองรายละเอียด
ประชุมจำนวน 1 ครั้ง ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน40 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
งบประมาณ 1,200.00 บาท - 2. เยี่ยมผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านรายละเอียด
1.ประสานทีม Palliative Care ของโรงพยาบาลลงดูแลผู้ป่วยที่บ้านพร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย
- ไม่มีค่าใช้จ่าย 2.จัดให้มีพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย - ไม่มีค่าใช้จ่าย 3.จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ยาและเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล - ค่าอ่างสระผมและอุปกรณ์สระผมสำหรับผู้ป่วย จำนวน 6 ชุด ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าชุดทำแผลปลอดเชื้อ จำนวน100 ชุด ๆ ละ50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย จำนวน10,000 บาท - เครื่องดูดเสมหะ จำนวน4 เครื่อง ๆ ละ 6,500 บาท เป็นเงิน26,000 บาทงบประมาณ 47,000.00 บาท - 3. ประชุมทีมสหวิชาชีพและทีมอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการดูแลตามเหมาะสมตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยรายละเอียด
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
งบประมาณ 1,200.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 9 มิถุนายน 2568 ถึง 19 กันยายน 2568
เทศบาลเมืองพัทลุง
รวมงบประมาณโครงการ 49,400.00 บาท
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง รหัส กปท. L7572
อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง รหัส กปท. L7572
อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................