2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยน ผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น บวกกับอายุที่ยืนยาวขึ้น และหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือโรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น ร่างกายและสมองของผู้สูงอายุอาจเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หรือโรคอัลไซเมอร์
โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี ๒ ประการ คือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจำระยะยาวตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจ ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวัง การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและทำให้เกิดภาระทางสังคมและเศรษฐกิจ สำหรับผู้สูงอายุที่ยังคงมีสภาพร่างกายแข็งแรงและสมองที่คมชัด การดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม การออกกำลังกาย การฝึกสมอง และการดูแลสุขภาพจิตเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โครงการนี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่มีความสุข ห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อม และมีความสามารถในการดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้คือ การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานการส่งเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีรวมถึงการกระตุ้นการทำงานของสมองสามารถช่วยป้องกันและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ รพ.สต.ระแว้ง ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากโรคสมองเสื่อม จึงได้จัดทำโครงการ "ผู้สูงอายุสุขภาพดีจิตแจ่มใส ห่างไกลสมองเสื่อม" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมมากขึ้น
๒. ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตตนเองได้ดีขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
๓.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในชุมชนมากขึ้นมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน
๔.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี