กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีจิตแจ่มใส ห่างไกลสมองเสื่่อม ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3033-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลระแว้ง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2568 - 29 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2568
งบประมาณ 31,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพรพิสุทธิ์ ใจสมุทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยน ผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น บวกกับอายุที่ยืนยาวขึ้น และหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือโรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น ร่างกายและสมองของผู้สูงอายุอาจเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หรือโรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี ๒ ประการ คือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจำระยะยาวตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจ ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวัง การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและทำให้เกิดภาระทางสังคมและเศรษฐกิจ สำหรับผู้สูงอายุที่ยังคงมีสภาพร่างกายแข็งแรงและสมองที่คมชัด การดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม การออกกำลังกาย การฝึกสมอง และการดูแลสุขภาพจิตเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โครงการนี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่มีความสุข ห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อม และมีความสามารถในการดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้คือ การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานการส่งเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีรวมถึงการกระตุ้นการทำงานของสมองสามารถช่วยป้องกันและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ รพ.สต.ระแว้ง ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากโรคสมองเสื่อม จึงได้จัดทำโครงการ "ผู้สูงอายุสุขภาพดีจิตแจ่มใส ห่างไกลสมองเสื่อม" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม

 

180.00 1.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองกระตุ้นการทำงานของสมองโดยการทำกิจกรรม ชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม เพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

 

180.00 1.00
3 เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

 

180.00 1.00
4 เพื่อสร้างความตระหนักให้กับชุมชนเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและการป้องกันภาวะสมองเสื่อม

 

180.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,350.00 0 0.00
20 - 22 พ.ค. 68 1.กิจกรรมให้ความรู้ 0 31,350.00 -
20 - 22 พ.ค. 68 กิจกรรมกระตุ้นการทำงานของสมอง ฝึกทักษะบริหารสมองด้วยเกมส์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นกระบวนการคิด ความจำและการสั่งการของสมอง 0 0.00 -
20 - 22 พ.ค. 68 สร้างการเชื่อมโยงทางสังคมสร้างความตระหนักให้กับชุมชน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมมากขึ้น ๒. ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตตนเองได้ดีขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม ๓.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในชุมชนมากขึ้นมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน ๔.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 00:00 น.