กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย

1. นางจรูญลักษณ์ รุ่งทวีชัย
2. นางวันทนา ฉิมดำ
3. นางลำไย ชูเอียด
4. นางขวัญจิตร ภูริปัญญานันท์
5. นางธัญลักษณ์ วุ่นบัว

พื้นที่เขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนและมาตรการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการ การควบคุมยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค หลักในการควบคุมโรคเป็นการยากหากจะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ ดังนั้น ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย จึง จัดทำโครงการ "โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568" เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนได้เห็นความสำคัญและสร้างมาตรการทางสังคมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐาน (ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับแจ้ง และดำเนินซ้ำอีกครั้งเมื่อครบ 3 วัน และ 7 วัน)

100.00 100.00
2 เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ (Second generation case)

ไม่มีผู้ป่วยระบาดซ้ำ (Second generation case)

90.00 90.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก

หมู่บ้าน/ชุมชน  มีค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI)  ไม่เกินร้อยละ 10  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย(CI=0)  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อแบบล่วงหน้า

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อแบบล่วงหน้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุเชื้อเพลิงในการพ่นน้ำยาเคมีช่วงก่อนเปิดเทอม 2 เทอมๆละ 1 ครั้ง จำนวน 3 แห่ง รวมเป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าตอบแทนในการพ่นน้ำยาเคมี ช่วงก่อนเปิดเทอม จำนวน 2 เทอมๆละ 1 ครั้ง ครั้งละ 600 บาท จำนวน 3 แห่ง รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ดำเนินการควบคุมโรคก่อนเปิดเทอม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการควบคุมป้องกันการระบาดในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการควบคุมป้องกันการระบาดในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุเชื้อเพลิงในการพ่นน้ำยาเคมี และสอบสวนโรคช่วงมีการระบาดของโรค คิดเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าตอบแทนในการควบคุมโรคไข้เลือดออก (การพ่นละอองฝอย+กำจัดลูกน้ำยุงลาย) บ้านผู้ป่วยและบ้านในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย จำนวน 25 รายๆละ 700 บาท คิดเป็นเงิน 17,500 บาท -ค่าโลชั่นทากันยุงชนิดซองจำนวน 500 ซองๆ ละ 5 บาทคิดเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าสเปรย์พ่นยุงขนาด 300 มล. จำนวน 30 กระป๋องๆละ 65 บาทคิดเป็นเงิน 1,950 บาท
  • ค่าหน้ากากป้องกันสารเคมี จำนวน 5 ชิ้นๆ ละ 400 บาทคิดเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าชุดป้องกันส่วนบุคคลในการพ่นน้ำยาเคมี จำนวน 4 ชุดดๆละ 500 บาทคิดเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าถุงมือผ้า จำนวน 10 คู่ๆละ 50 บาทคิดเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐานร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29450.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.และทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.และทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท  คิดเป็นเงิน 4,900 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร  คิดเป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงไม่เกินร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,800.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสา่มารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนและองค์กรต่าง ๆในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
2. ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
4. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก


>