โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3346-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 39,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจรูญลักษณ์ รุ่งทวีชัย/ประธานชมรม อสม. รพ.สต.บ้านบ่อทราย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 39,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 39,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 65 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนและมาตรการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการ การควบคุมยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค หลักในการควบคุมโรคเป็นการยากหากจะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ ดังนั้น ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย จึง จัดทำโครงการ "โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568" เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนได้เห็นความสำคัญและสร้างมาตรการทางสังคมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐาน (ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับแจ้ง และดำเนินซ้ำอีกครั้งเมื่อครบ 3 วัน และ 7 วัน) |
100.00 | 100.00 |
2 | เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ (Second generation case) ไม่มีผู้ป่วยระบาดซ้ำ (Second generation case) |
90.00 | 90.00 |
3 | เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่บ้าน/ชุมชน มีค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ 10 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย(CI=0) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
80.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 39,800.00 | 0 | 0.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อแบบล่วงหน้า | 0 | 1,500.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | การดำเนินการควบคุมป้องกันการระบาดในหมู่บ้าน | 0 | 29,450.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.และทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) | 0 | 8,850.00 | - |
- ประชาชนและองค์กรต่าง ๆในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
- ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2568 00:00 น.