กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

1.นางทวิพร สร้อยทอง
2.นายสมเจตน์ ทองทวี
3.นส.ธัญญารัตน์ เพชรรักษ์
4.นางกลอยใจ รัตนโกศัย
5.นางกนกวรรณ หลินมา

พื้นที่เขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคและยังคงเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นแล้วมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนแต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักทั้งนี้ยังขาดความตระหนักจากประชาชนผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ที่ยังคงมีความเข้าใจว่าเป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.
สำหรับเขตพื้นที่หมู่ที่ 1,2,3,8และ9 ต.บ้านพร้าว มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2563 -2567 เท่ากับ 228.59, 35.06 , 0.00, 631.69 และ 756.89 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ (ข้อมูลจากงานระบาด รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน) ซึ่งจะเห็นว่าปี 2567 มีอัตราป่วยมากที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงเวลาของการเปิดภาคเรียนพอดีและผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในกลุ่มวัยเรียนทั้งระดับประถม มัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความหลากหลายจากที่มาของภูมิลำเนา ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชนและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน มีฝนตกสลับกับฝนแล้งทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะได้ ซึ่งเหมาะแก่การวางไข่ของยุงลาย ซึ่งเอื้อต่อการการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันโดยเน้นเรื่องการดูแลบ้านเรือนของตนเอง ด้วยการปฏิบัติตามหลัก 5 ป+ 1ข เป็นสำคัญ
ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มีการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบมีค่า HI,CI ไม่เกินร้อยละ 10

10.00 10.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.และทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.และทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.,ทีม SRRTและผู้จัด จำนวน 118 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 5,900 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน อสม.,ทีม SRRTและผู้จัด จำนวน 118 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท คิดเป็นเงิน 8,260 บาท
  • ค่าป้ายโครงการขนาด 1 x 3 เมตร คิดเป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบมีค่า HI,CI ไม่เกินร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14610.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดป้องกันสารเคมี จำนวน 5 ชุดๆละ 500 บาท คิดเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าหน้ากากป้องกันสารเคมีจำนวน 5 ชิ้นๆละ 400 บาท คิดเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุงขนาด 8 กรัม จำนวน 100 ซองๆละ 5 บาท คิดเป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าสเปรย์พ่นยุงขนาด 300 ml.จำนวน 50 กระป๋องๆละ 65 บาท คิดเป็นเงิน3,250 บาท
  • ค่าถุงมือผ้าจำนวน 10 คู่ๆละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าน้ำมันเบนซินใส่เครื่องพ่น คิดเป็นเงิน5,000 บาท
  • ค่าตอบแทนทีม SRRTกรณีเกิดโรคจำนวน 40 เคสๆละ 700 บาท คิดเป็นเงิน 28,000 บาท
  • ค่าตอบแทนทีม SRRT กรณีพ่นใน ร.ร.ก่อนเปิดเทอม จำนวน 2 ครั้งๆละ 1,000 บาท คิดเป็นเงิน2,000 บาท
  • ค่าน้ำยาสารเคมีจำนวน 2 ขวดๆละ 2,800 บาท คิดเป็นเงิน5,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 68,460.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสา่มารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2. ประชาชนให้ความตระหนักต่อการดูแลบ้านเรือน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


>