กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง

1. อาจารย์นฤมล ทองหนัก
2. อาจารย์รังสินันท์ เรืองศรี
3. อาจารย์อฑิภา อมรปิยภากร
4. อาจารย์อาทิตยา แก้วน้อย
5. ผศ. ดร.จัณทร์ปภัสร์ เครือแก้ว

เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus,GDM) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาในขณะตั้งครรภ์ทำให้มีความบกพร่องในการทนต่อกลูโคส อัตราการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทำให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ตัวโตทำให้คลอดยาก ระยะที่สองของการคลอดยาวนาน เกิดการคลอดติดไหล่ จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด และมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอด และเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนานทารกแรกเกิดมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและเกิดภาวะหายใจลำบากแรกคลอด (RDS) ทารกที่คลอดมีขนาดตัวใหญ่ เสี่ยงต่อโรคอ้วนในวัยเด็กและวัยรุ่น หรือกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่อายุน้อย
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถป้องกันได้โดยเฝ้าระวังการเกิดด้วยการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงคือ ให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้รับการคัดกรองเบื้องต้นโดยไม่ต้องงดอาหาร ให้กินน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม แล้วเจาะระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว ร่วมกับการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์
ทางทีมคณะผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับการให้ความรู้การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับสตรีตั้งครรภ์และทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์

90.00 90.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเอง

หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเอง

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองภาวะเสี่ยง การเฝ้าระวัง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะเสี่ยง การเฝ้าระวัง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 2 เครื่องๆละ 1,500 บาท คิดเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 20 กล่องๆละ 390 บาท (50แถบ/กล่อง) คิดเป็นเงิน 7,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 625 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท คิดเป็นเงิน 1,750 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารความรู้ จำนวน 20 ชุดๆละ 20 บาท คิดเป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ 1x3 เมตร คิดเป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3225.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 625 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย ปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง และเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,650.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสา่มารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์
2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์


>