โครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ |
รหัสโครงการ | 68-L3346-2-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาจารย์นฤมล ทองหนัก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 14,650.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,650.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus,GDM) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาในขณะตั้งครรภ์ทำให้มีความบกพร่องในการทนต่อกลูโคส อัตราการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทำให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ตัวโตทำให้คลอดยาก ระยะที่สองของการคลอดยาวนาน เกิดการคลอดติดไหล่ จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด และมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอด และเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนานทารกแรกเกิดมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและเกิดภาวะหายใจลำบากแรกคลอด (RDS) ทารกที่คลอดมีขนาดตัวใหญ่ เสี่ยงต่อโรคอ้วนในวัยเด็กและวัยรุ่น หรือกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่อายุน้อย
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถป้องกันได้โดยเฝ้าระวังการเกิดด้วยการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงคือ ให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้รับการคัดกรองเบื้องต้นโดยไม่ต้องงดอาหาร ให้กินน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม แล้วเจาะระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว ร่วมกับการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์
ทางทีมคณะผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับการให้ความรู้การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับสตรีตั้งครรภ์และทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ |
90.00 | 90.00 |
2 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเอง หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเอง |
80.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,650.00 | 0 | 0.00 | 14,650.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | คัดกรองภาวะเสี่ยง การเฝ้าระวัง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์ | 0 | 10,800.00 | - | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์ | 0 | 3,225.00 | - | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์ | 0 | 625.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 14,650.00 | 0 | 0.00 | 14,650.00 |
- ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์
- ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2568 00:00 น.