กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาพระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเบาหวาน อย่าเบาใจ ป้องกันได้ รักษาทัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาพระ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง

ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 8 บ้านคลองเขาล้อน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์กลุ่มโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ทั้งในมิติของการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ซึ่งโรคไม่ติดต่อหลักที่สำคัญ ได้แก่โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคทางจิตอันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่อาหารที่ไม่เหมาะสม กิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ บุหรี่สุรา และมลพิษทางอากาศ รวมทั้งอารมณ์และความเครียดที่เป็นปัจจัยเสริม ก่อให้เกิดภาระทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจสังคม และประเทศตามมามากมาย
จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอำเภอรัตภูมิที่ผ่านมา พบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนในอำเภอรัตภูมิเช่นเดียวกัน ประชากรป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และมักจะเจอในประชากรที่มีกลุ่มอายุที่ต่ำลงมาจากปีก่อนๆซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ดังที่ได้กล่าวมา
งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง จึงได้จัดทำโครงการเบาหวาน อย่าเบาใจ ป้องกันได้ รักษาทัน ขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในพื้นที่ ให้ข้อมูลและความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และดูแลกลุ่มป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะโรคสงบ และลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวังป้องกันก่อนป่วย เฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และดูแลผู้ป่วยให้สามารถควบคุมโรคได้ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงในกลุ่มป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และหยุดยาหรือลดปริมาณยาและได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยเบาหวานภาวะโรคสงบจากแพทย์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโดยอสม.

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานโดยอสม.ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร (FPG) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน90- 180 วัน

กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน อย่างน้อยร้อยละ 80 ได้รับการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร (FPG)

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน 90-180 วัน

กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน อย่างน้อยร้อยละ 80 ได้รับการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C)

0.00
5 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย

กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 77
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 650
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 1.1 เตรียมความพร้อม อสม.ก่อนลงพื้นที่คัดกรองโดยมีการชี้แจงรายละเอียดพร้อมแจกคู่มือแนวทางการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ35ปีขึ้น สำหรับ อสม. 1.2 ดำเนินการคัดกรองปร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 1.1 เตรียมความพร้อม อสม.ก่อนลงพื้นที่คัดกรองโดยมีการชี้แจงรายละเอียดพร้อมแจกคู่มือแนวทางการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ35ปีขึ้น สำหรับ อสม. 1.2 ดำเนินการคัดกรองปร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าคู่มือ "แนวทางการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้น สำหรับอสม." เล่มละ 60 บาท x 24 เล่ม เป็นเงิน 1,440 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1440.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.1 อสม.ที่รับผิดชอบมีรายชื่อกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย 2.2 ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมีการประเมินความรู้ ก่อนและหลังการอบรม 2.3 ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ได้รั

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.1 อสม.ที่รับผิดชอบมีรายชื่อกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย 2.2 ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมีการประเมินความรู้ ก่อนและหลังการอบรม 2.3 ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ได้รั
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าคู่มือ "เสี่ยงเบาหวานอย่าเบาใจ ป้องกันได้ รักษาทัน"เล่มละ 60 บาท x 84 เล่ม เป็นเงิน 5,040 บาท
  2. ค่ากระเป๋าผ้าอเนกประสงค์พร้อมสมุด/ปากกา 84 ชุด x 75 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
  3. ค่าวิทยากรกลุ่ม 3 คน คนละ 3 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 94 คน x 25บาท เป็นเงิน 2,350 บาท 5.ไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.4ม. เป็นเงิน 432 บาท
  5. ค่าสื่อความรู้ กระดาษPP ขนาด 60x160 cm ชิ้นละ 240 บาท x 1 ชิ้น เป็นเงิน 240 บาท 7.ค่าสื่อความรู้กระดาษPP พร้อมX-stand ขนาด 60x160 cm ชิ้นละ 1,000 บาท x 2 ชิ้น เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21762.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผล และสรุปผล 3.1 ส่งต่อพบแพทย์ในกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ทุกราย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผล และสรุปผล 3.1 ส่งต่อพบแพทย์ในกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ทุกราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,202.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโดยอสม.
2 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง
3 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร (FPG) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน 90- 180 วัน และมีผลตรวจที่ดีขึ้น เกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง
4 เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน 90-180 วัน และมีผลตรวจที่ดีขึ้น
5 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย


>