โครงการเบาหวาน อย่าเบาใจ ป้องกันได้ รักษาทัน
ชื่อโครงการ | โครงการเบาหวาน อย่าเบาใจ ป้องกันได้ รักษาทัน |
รหัสโครงการ | 68-L5230-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 23,202.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปวีณา ติงหวัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 77 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 650 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์กลุ่มโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ทั้งในมิติของการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ซึ่งโรคไม่ติดต่อหลักที่สำคัญ ได้แก่โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคทางจิตอันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่อาหารที่ไม่เหมาะสม กิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ บุหรี่สุรา และมลพิษทางอากาศ รวมทั้งอารมณ์และความเครียดที่เป็นปัจจัยเสริม ก่อให้เกิดภาระทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจสังคม และประเทศตามมามากมาย
จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอำเภอรัตภูมิที่ผ่านมา พบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนในอำเภอรัตภูมิเช่นเดียวกัน ประชากรป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และมักจะเจอในประชากรที่มีกลุ่มอายุที่ต่ำลงมาจากปีก่อนๆซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ดังที่ได้กล่าวมา
งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาสีทอง จึงได้จัดทำโครงการเบาหวาน อย่าเบาใจ ป้องกันได้ รักษาทัน ขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในพื้นที่ ให้ข้อมูลและความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และดูแลกลุ่มป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะโรคสงบ และลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวังป้องกันก่อนป่วย เฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และดูแลผู้ป่วยให้สามารถควบคุมโรคได้ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงในกลุ่มป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และหยุดยาหรือลดปริมาณยาและได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยเบาหวานภาวะโรคสงบจากแพทย์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโดยอสม. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานโดยอสม.ร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร (FPG) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน90- 180 วัน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน อย่างน้อยร้อยละ 80 ได้รับการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร (FPG) |
0.00 | |
4 | เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน 90-180 วัน กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน อย่างน้อยร้อยละ 80 ได้รับการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) |
0.00 | |
5 | กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย ร้อยละ 100 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 23,202.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 | กิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 1.1 เตรียมความพร้อม อสม.ก่อนลงพื้นที่คัดกรองโดยมีการชี้แจงรายละเอียดพร้อมแจกคู่มือแนวทางการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ35ปีขึ้น สำหรับ อสม. 1.2 ดำเนินการคัดกรองปร | 0 | 1,440.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 มิ.ย. 68 | กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.1 อสม.ที่รับผิดชอบมีรายชื่อกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย 2.2 ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมีการประเมินความรู้ ก่อนและหลังการอบรม 2.3 ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ได้รั | 0 | 21,762.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประเมินผล และสรุปผล 3.1 ส่งต่อพบแพทย์ในกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ทุกราย | 0 | 0.00 | - |
1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโดยอสม. 2 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง 3 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจระดับพลาสมากลูโคสหลังอดอาหาร (FPG) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน 90- 180 วัน และมีผลตรวจที่ดีขึ้น เกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง 4 เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใน 90-180 วัน และมีผลตรวจที่ดีขึ้น 5 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ และกลุ่มป่วยที่มีค่าน้ำตาลสะสมเกินเกณฑ์ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 00:00 น.