2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักและยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก และการไม่มีพฤติกรรมตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก พื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคนี้ หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุม
สำหรับข้อมูลสถานการณ์โรคติดต่อโดยแมลงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖2 – 31 ธันวาคม ๒๕๖7 มีผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 จำนวนผู้ป่วย 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 256.21 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2563 จำนวนผู้ป่วย 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 335.04 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2564 จำนวนผู้ป่วย 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 รายต่อแสนประชากร , ปี 2565 จำนวนผู้ป่วย 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 รายต่อแสนประชากร, ปี 2566 จำนวนผู้ป่วย 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย218.18 รายต่อแสนประชากร, ปี 2567 จำนวนผู้ป่วย 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 144.40 รายต่อแสนประชากรจากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการที่เรามีมาตรการในการควบคุมโรคได้ดีขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุมอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติตนให้แก่ประชาชนในการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
- ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่นำโดยแมลงไม่เกิน 60 /ประชากร 100,000 คน
- ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวัง ร้อยละ100
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?