โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลกาบัง ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลกาบัง ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 19 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,772.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักและยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก และการไม่มีพฤติกรรมตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก พื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคนี้ หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุม
สำหรับข้อมูลสถานการณ์โรคติดต่อโดยแมลงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖2 – 31 ธันวาคม ๒๕๖7 มีผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 จำนวนผู้ป่วย 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 256.21 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2563 จำนวนผู้ป่วย 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 335.04 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2564 จำนวนผู้ป่วย 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 รายต่อแสนประชากร , ปี 2565 จำนวนผู้ป่วย 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 รายต่อแสนประชากร, ปี 2566 จำนวนผู้ป่วย 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย218.18 รายต่อแสนประชากร, ปี 2567 จำนวนผู้ป่วย 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 144.40 รายต่อแสนประชากรจากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการที่เรามีมาตรการในการควบคุมโรคได้ดีขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุมอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติตนให้แก่ประชาชนในการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,772.00 | 0 | 0.00 | 20,772.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1.การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชนและโรงเรียน 2.ค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ ทุกราย | 0 | 20,772.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 20,772.00 | 0 | 0.00 | 20,772.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2568 00:00 น.