กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนตำบลควนโดน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน

1.นายมอฮัมหมัด เทศอาเส็น
2.นายกิตติพงษ์ไมมะหาด
3.นางฝีเย๊าะ เทศอาเส็น
4.นางสาวนริศรา แกสมาน
5.นายสงบ รักงาม

ณ โรงเรียน อสม. รพ.สต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทางด้านจิตและปัญหายาเสพติด มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากทำให้เป็นปัญหาในทุกๆระดับในการพัฒนางานด้านสุขภาพจิตในชุมชน การสร้างแกนนำสุขภาพด้านสุขภาพจิตในชุมชนเพื่อการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตในชุมชนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังชุมชน จะช่วยให้คนในชุมชนของตนเองมีสุขภาพจิตดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยใช้หลักเฝ้าระวังและให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่กลุ่มเสี่ยงทำให้ชุมชนตนเองเป็นชุมชนสุขภาพจิตดี
จากข้อมูลงานสุขภาพจิตและยาเสพติดโรงพยาบาลควนโดนปีงบประมาณ 2567 ในเขตรับผิดชอบตำบลควนโดนพบว่ามีผู้ป่วยด้านจิตเวชรวมทุกประเภทจำนวน 338 ราย และโรคจิตเวชที่พบบ่อย 5 อันดับแรก คืออันดับที่ 1 คือ โรควิตกกังวล (Anxity) จำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ27.81 อันดับที่ 2 คือโรคซึมเคร้า ( Dedressive ) จำนวน 93 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.51 อันดับที่ 3 คือโรคอารมณ์หลายบุคลิก กลุ่มอาการผิดปกติทางจิต(Bipolar Disorder) จำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.71 อันดับที่ 4 คือโรคจิตเภท (Schizophrenia) จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.72 อันดับที่ 5 คือ กลุ่มอาการผิดปกติทางจิตพยายามฆ่าตัวตาย (Suicide) จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.36 ซึ่งจะเห็นได้ว่า กลุ่มโรคด้านจิตเวชหากเป็นแล้วไม่ได้รับการดูแลแนะนำที่ถูกวิธี่หรือการทานยาต่อเนื่องสุดท้ายจุดจบของโรคที่พบคือ การพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จในที่สุด
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน ได้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน แต่แกนนำยังขาดความรู้ความชำนาญในการดำเนินงานดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างแกนนำด้านสุขภาพจิตในชุมชนตำบลควนโดนขึ้น เพื่อสร้างกลุ่มแกนนำด้านสุขภาพจิตให้ได้รับความรู้ความเชียวชาญด้านสุขภาพจิตและความสามารถนำไปปฏิบัติในการเฝ้าระวังคัดกรอง แนะนำ ส่งต่อ ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องในการเฝ้าระวัง สอดส่องในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าข่ายโรคด้านสุขภาพจิตในพื้นที่ได้เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคทางด้านสุขภาพจิตในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชน จำนวน 100 คน

มีแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้แกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้านได้รับความรู้ความเชียวชาญด้านสุขภาพจิตชุมชน

ร้อยละ 100  กลุ่มแกนนำจิตเวชอาสาได้รับความรู้สามารถนำไปปฏิบัติคัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสัญญานเตือนที่เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก่อความก้าวร้าวรุนแรงในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสัญญานเตือนที่เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก่อความก้าวร้าวรุนแรงในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 คน          เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30บาท x 2 มื้อ จำนวน 100 คน          เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 1 มื้อ    จำนวน 100 คน                   เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1*3 เมตร จำนวน  1 ผืน ตารางเมตรละ 150 บาท           เป็นเงิน    450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน ได้รับความรู้ด้านสุขภาพจิตและความสามารถนำไปปฏิบัติคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการลงพื้นที่คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและเยี่ยมเคสผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการลงพื้นที่คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและเยี่ยมเคสผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 คน            เป็นเงิน   900 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30บาท x 1 มื้อ จำนวน 100 คน          เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 บาท x 1 มื้อ    จำนวน 100 คน            เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์การอบรม และการติดตามเยี่ยมเคสผู้ป่วย        เป็นเงิน  2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน และสามารถดำเนินงานเฝ้าระวัง ค้นหา ส่งต่อ กลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิตและยาเสพติดในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 มีแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน ได้รับความรู้ด้านสุขภาพจิตและความสามารถนำไปปฏิบัติคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้
2 แกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน และสามารถดำเนินงานเฝ้าระวัง ค้นหา ส่งต่อ กลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิตและยาเสพติดในชุมชนได้


>