โครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนตำบลควนโดน ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนตำบลควนโดน ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน |
วันที่อนุมัติ | 18 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 26,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมอฮัมหมัด เทศอาเส็น (ประธานกรรมการ) นายสงบ รักงาม (กรรมการ) นางสาวนริศรา แกสมาน (กรรมการ) |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทางด้านจิตและปัญหายาเสพติด มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากทำให้เป็นปัญหาในทุกๆระดับในการพัฒนางานด้านสุขภาพจิตในชุมชน การสร้างแกนนำสุขภาพด้านสุขภาพจิตในชุมชนเพื่อการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตในชุมชนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังชุมชน จะช่วยให้คนในชุมชนของตนเองมีสุขภาพจิตดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยใช้หลักเฝ้าระวังและให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่กลุ่มเสี่ยงทำให้ชุมชนตนเองเป็นชุมชนสุขภาพจิตดี จากข้อมูลงานสุขภาพจิตและยาเสพติดโรงพยาบาลควนโดนปีงบประมาณ 2567 ในเขตรับผิดชอบตำบลควนโดนพบว่ามีผู้ป่วยด้านจิตเวชรวมทุกประเภทจำนวน 338 ราย และโรคจิตเวชที่พบบ่อย 5 อันดับแรก คืออันดับที่ 1 คือ โรควิตกกังวล (Anxity) จำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ27.81 อันดับที่ 2 คือโรคซึมเคร้า ( Dedressive ) จำนวน 93 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.51 อันดับที่ 3 คือโรคอารมณ์หลายบุคลิก กลุ่มอาการผิดปกติทางจิต(Bipolar Disorder) จำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.71 อันดับที่ 4 คือโรคจิตเภท (Schizophrenia) จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.72 อันดับที่ 5 คือ กลุ่มอาการผิดปกติทางจิตพยายามฆ่าตัวตาย (Suicide) จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.36 ซึ่งจะเห็นได้ว่า กลุ่มโรคด้านจิตเวชหากเป็นแล้วไม่ได้รับการดูแลแนะนำที่ถูกวิธี่หรือการทานยาต่อเนื่องสุดท้ายจุดจบของโรคที่พบคือ การพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จในที่สุด ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน ได้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน แต่แกนนำยังขาดความรู้ความชำนาญในการดำเนินงานดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสร้างแกนนำด้านสุขภาพจิตในชุมชนตำบลควนโดนขึ้น เพื่อสร้างกลุ่มแกนนำด้านสุขภาพจิตให้ได้รับความรู้ความเชียวชาญด้านสุขภาพจิตและความสามารถนำไปปฏิบัติในการเฝ้าระวังคัดกรอง แนะนำ ส่งต่อ ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องในการเฝ้าระวัง สอดส่องในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าข่ายโรคด้านสุขภาพจิตในพื้นที่ได้เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคทางด้านสุขภาพจิตในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชน จำนวน 100 คน มีแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้แกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้านได้รับความรู้ความเชียวชาญด้านสุขภาพจิตชุมชน ร้อยละ 100 กลุ่มแกนนำจิตเวชอาสาได้รับความรู้สามารถนำไปปฏิบัติคัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 26,250.00 | 0 | 0.00 | 26,250.00 | |
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสัญญานเตือนที่เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก่อความก้าวร้าวรุนแรงในชุมชน | 0 | 14,250.00 | - | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการลงพื้นที่คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและเยี่ยมเคสผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน | 0 | 12,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 26,250.00 | 0 | 0.00 | 26,250.00 |
1 มีแกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน ได้รับความรู้ด้านสุขภาพจิตและความสามารถนำไปปฏิบัติคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้ 2 แกนนำจิตเวชอาสาในชุมชนทุกหมู่บ้าน และสามารถดำเนินงานเฝ้าระวัง ค้นหา ส่งต่อ กลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิตและยาเสพติดในชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2568 00:00 น.