กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

0.00

นับเป็นเวลาเกือบ 5 ปีแล้วที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในขณะเดียวกันก็มีการกลายพันธุ์ไปตามสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ สำหรับประเทศไทย มีการรับเชื้อโควิดกลายพันธุ์เข้ามาจากในที่ต่างๆและมีการแพร่ระบาดอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แม้จะผ่านการระบาดครั้งใหญ่ไปแล้ว แต่ยังพบมีการติดเชื้ออยู่เรื่อยๆ รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม-14 พฤษภาคม 2568 พบผู้ป่วย 71,067 ราย ผู้เสียชีวิต 19 ราย แนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นพบการระบาดแบบกลุ่มก้อน ใน ตำบลคูหาสวรรค์ ตั้งแต่ 1 มกราคม-20 พฤษภาคม 2568 พบผู้ป่วยโควิด-19 174 ราย คิดเป็น 537.63 ต่อประชากรแสนคน โรคไข้หวัดใหญ่ 94 ราย คิดเป็น 287.15 ราย ต่อประชากรแสนคน โรคมือ เท้า ปาก 11 ราย คิดเป็น 33.60 ราย ต่อประชากรแสนคน พบมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จึงจัดทำ โครงการโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างแบบกลุ่มก้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุบัติใหม่

สามารถค้นหาจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ และส่งต่อเพื่อการรักษาร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในสถานศึกษา

สามารถลดจำนวนเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก ร้อยละ 10

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุบัติใหม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุบัติใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รณรงค์ให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น รายการวิทยุของเทศบาล รถประชาสัมพันธ์ เพจเฟสบุ้คของเทศบาล หอกระจายข่าวชุมชน

2.จัดหาวัสดุอุกรณ์ทางการแพทย์

-ชุดตรวจโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ จำนวน 200 ชุดๆละ 80 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท

-หน้ากากอนามัย (Surgical Mask) จำนวน 20 กล่องๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

-ถุงมือใช้แล้วทิ้ง (Disposible glove) เบอร์ S จำนวน 10 กล่องๆละ 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

-ถุงมือใช้แล้วทิ้ง (Disposible glove) เบอร์ M จำนวน 15 กล่องๆละ 150 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

-สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 100 มล จำนวน 200 ขวดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

  • 75% แอลกอฮอล์ (ชนิดเจล)ขนาด 500 มล จำนวน 100 ขวดๆละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท

3.จัดทำป้ายไวนิล สื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ เรื่องโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ขนาด 2.4x3.8 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 2,300 บาท

4.ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ แบบขาวดำสองหน้า ขนาด A4 จำนวน 1,000 แผ่น (1 บาท/1แผ่น) เป็นเงิน 1,000 บาท

5.คัดกรองโควิด-19 กรณีเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในพื้นที่เสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีวัสดุอุกรณ์ทางการแพทย์เพียงพอในการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

  2. มีสื่อประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึง

3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโดควิด-19 ป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

4.สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้ โรคมือ เท้า ปาก แก่เด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง

2.คัดกรองโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกวันจันทร์ โดยครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (เดือน กรกฎาคม-สิงหาคม) 2568

3.จัดหาน้ำยาฆ่าเชื้อ สำหรับทำความสะอาดห้องเรียน ของเล่น และสื่อการเรียนการสอน ขนาด 5 ลิตร จำนวน 20 แกลอนๆละ 185 บาท เป็นเงิน 3,700 บาท

4.ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้โรคมือ เท้า ปากแบบขาวดำสองหน้า ขนาด A4 จำนวน 1,000 แผ่น (1 บาท/1แผ่น) เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในสถานศึกษาได้

2.ลดจำนวนเด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

3.สามารถค้นหาเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก ก่อนการระบาด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีวัสดุอุกรณ์ทางการแพทย์เพียงพอในการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุบัติใหม่

2. มีสื่อประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึง

3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโควิด-19 ป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

4.สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ได้

5.สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในสถานศึกษาได้

6.ลดจำนวนเด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

7.สามารถค้นหาเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก ก่อนการระบาด


>