กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 2568-L7572-05-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มิถุนายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิณณพัต ทองพุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับเป็นเวลาเกือบ 5 ปีแล้วที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในขณะเดียวกันก็มีการกลายพันธุ์ไปตามสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ สำหรับประเทศไทย มีการรับเชื้อโควิดกลายพันธุ์เข้ามาจากในที่ต่างๆและมีการแพร่ระบาดอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แม้จะผ่านการระบาดครั้งใหญ่ไปแล้ว แต่ยังพบมีการติดเชื้ออยู่เรื่อยๆ รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม-14 พฤษภาคม 2568 พบผู้ป่วย 71,067 ราย ผู้เสียชีวิต 19 ราย แนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นพบการระบาดแบบกลุ่มก้อน ใน ตำบลคูหาสวรรค์ ตั้งแต่ 1 มกราคม-20 พฤษภาคม 2568 พบผู้ป่วยโควิด-19 174 ราย คิดเป็น 537.63 ต่อประชากรแสนคน โรคไข้หวัดใหญ่ 94 ราย คิดเป็น 287.15 ราย ต่อประชากรแสนคน โรคมือ เท้า ปาก 11 ราย คิดเป็น 33.60 ราย ต่อประชากรแสนคน พบมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จึงจัดทำ โครงการโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างแบบกลุ่มก้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุบัติใหม่

สามารถค้นหาจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ และส่งต่อเพื่อการรักษาร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในสถานศึกษา

สามารถลดจำนวนเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก ร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,750.00 0 0.00
5 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุบัติใหม่ 0 38,050.00 -
5 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในสถานศึกษา 0 4,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีวัสดุอุกรณ์ทางการแพทย์เพียงพอในการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุบัติใหม่

  2. มีสื่อประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึง

3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโควิด-19 ป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

4.สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ได้

5.สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในสถานศึกษาได้

6.ลดจำนวนเด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

7.สามารถค้นหาเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก ก่อนการระบาด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 11:19 น.