2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับการส่งเสริมสุขภาพในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 0 – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
จากการสำรวจในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี พบว่าอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับร้อยละ 32.84 - 38.46 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ร้อยละ 95 เป็นผลให้โรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคไอกรน ยังคงแพร่ระบาดในพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ทั้งนี้ พบผู้ป่วยโรคไอกรนในอำเภอบันนังสตา จำนวน 67 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ ปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงการติดตามเด็กในเชิงรุกเพื่อให้ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนและทันเวลา โดยการดำเนินงานนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงีจึงจัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเกราะป้องกันให้ลูกน้อยด้วยวัคซีนขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับความสำคัญของการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนตามเกณฑ์ อันจะนำไปสู่การลดการระบาดของโรคและส่งเสริมสุขภาพของเด็กในชุมชนให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
2. ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3. อัตราป่วยที่ป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ลดลง
4. องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนเด็ก 0 – 5 ปี