โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเกราะป้องกันให้ลูกน้อยด้วยวัคซีน
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเกราะป้องกันให้ลูกน้อยด้วยวัคซีน |
รหัสโครงการ | 68-L4123-01-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี |
วันที่อนุมัติ | 25 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 30,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายฟากรี ดาหะซี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับการส่งเสริมสุขภาพในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 0 – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ ได้ง่าย จากการสำรวจในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี พบว่าอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับร้อยละ 32.84 - 38.46 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ร้อยละ 95 เป็นผลให้โรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคไอกรน ยังคงแพร่ระบาดในพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ทั้งนี้ พบผู้ป่วยโรคไอกรนในอำเภอบันนังสตา จำนวน 67 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ ปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงการติดตามเด็กในเชิงรุกเพื่อให้ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนและทันเวลา โดยการดำเนินงานนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และเครือข่ายภาคประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงีจึงจัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างเกราะป้องกันให้ลูกน้อยด้วยวัคซีนขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับความสำคัญของการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนตามเกณฑ์ อันจะนำไปสู่การลดการระบาดของโรคและส่งเสริมสุขภาพของเด็กในชุมชนให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ เด็กอายุครบ 5 ปี ในปี 2568 ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 10 |
0.00 | |
2 | เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน อัตราป่วยด้วยโรที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ผู้ปกครองที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ 90 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนและการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0–5ปี และอสม. | 0 | 18,200.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 2 รณรงค์ฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ในชุมชน | 0 | 12,600.00 | - | ||
รวม | 0 | 30,800.00 | 0 | 0.00 |
- เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
- ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
- อัตราป่วยที่ป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ลดลง
- องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนเด็ก 0 – 5 ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 00:00 น.