2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัว มีการตั้งครรภ์ จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตาม แต่สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงานบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วยทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเองบางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้องจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย การสร้างคนไทยรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21 ให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด และเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงสำคัญยิ่งที่จะดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และเด็ก 0 - 5 ปี ที่ได้มาตรฐาน เพราะเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สร้างสมองเป็นเครือข่ายเส้นใย เรียนรู้ จดจำ นอกจากนี้การเจริญเติบโตของร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน และยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ดังนั้น จึงเป็นช่วงที่สำคัญมากใน “2,500 วันแรกของชีวิต”
การพัฒนาคุณภาพเด็กต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้วจะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง ภาวะการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด รวมทั้งการส่งเสริมให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย6เดือน เพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ ในระหว่างคลอดและหลังคลอดรวมทั้งการส่งเสริมให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม ในเรื่องต่าง ๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพอนามัย การเลือกใช้ยา ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และการปฏิบัติตนต่างๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากที่แม่ทุกคนควรทราบถึงความสำคัญของการให้นมบุตรด้วยน้ำนมของตนเองเพราะจะทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่ดี การดูแลตัวเองหลังคลอด และการดูแลเด็กแรกเกิด
จากการสำรวจข้อมูลของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2567 มีหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ จำนวน 20 คน มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุ 12 สัปดาห์ จำนวน 11 คน ทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รับการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ คลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 2 คน มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 5 คน รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ยังขาดความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ด้วยเหตุนี้ ทางสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี” เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีเข้าใจและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องก่อนการตั้งครรภ์ และในหญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจนคลอดภายใต้แม่เกิดรอดลูกปลอดภัย รวมถึงสร้างแกนนำสุขภาพสตรีเพื่อขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 2,500 วันแรกของชีวิต โครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและปลอดภัยขณะตั้งครรภ์
2. ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
3. ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการมารับบริการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์
4. ทำให้ลดอัตราการคลอดทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (2,500 กรัม)
5. ทำให้ลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
6. ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ (BMI มากกว่า 19)