แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัว มีการตั้งครรภ์ จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตาม แต่สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงานบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วยทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเองบางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้องจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย การสร้างคนไทยรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21 ให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด และเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงสำคัญยิ่งที่จะดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และเด็ก 0 - 5 ปี ที่ได้มาตรฐาน เพราะเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สร้างสมองเป็นเครือข่ายเส้นใย เรียนรู้ จดจำ นอกจากนี้การเจริญเติบโตของร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน และยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ดังนั้น จึงเป็นช่วงที่สำคัญมากใน “2,500 วันแรกของชีวิต”
การพัฒนาคุณภาพเด็กต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้วจะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง ภาวะการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด รวมทั้งการส่งเสริมให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย6เดือน เพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ ในระหว่างคลอดและหลังคลอดรวมทั้งการส่งเสริมให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม ในเรื่องต่าง ๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพอนามัย การเลือกใช้ยา ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และการปฏิบัติตนต่างๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากที่แม่ทุกคนควรทราบถึงความสำคัญของการให้นมบุตรด้วยน้ำนมของตนเองเพราะจะทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่ดี การดูแลตัวเองหลังคลอด และการดูแลเด็กแรกเกิด
จากการสำรวจข้อมูลของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2567 มีหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ จำนวน 20 คน มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุ 12 สัปดาห์ จำนวน 11 คน ทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รับการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ คลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 2 คน มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 5 คน รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ยังขาดความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ด้วยเหตุนี้ ทางสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี” เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีเข้าใจและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องก่อนการตั้งครรภ์ และในหญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจนคลอดภายใต้แม่เกิดรอดลูกปลอดภัย รวมถึงสร้างแกนนำสุขภาพสตรีเพื่อขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 2,500 วันแรกของชีวิต โครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข
-
1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความ เข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความตระหนักในการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ตัวชี้วัด : ร้อยละ 60 ของหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความตระหนักในการมาฝากครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ตัวชี้วัด : ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
4. เพื่อป้องกันการคลอดทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (2,500 กรัม)ตัวชี้วัด : อัตราการคลอดทารกน้ำหนัก 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
5. เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ตัวชี้วัด : อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ น้อยกว่า ร้อยละ 10ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
6. เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัด : ร้อยละ 60 ของหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ (BMI มากกว่า 19)ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. อบรมให้ความรู้รายละเอียด
กิจกรรมย่อย
บรรยายให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ ในเขตรับผิดชอบ จำนวน 15 คน และในหญิงวัยเจริญพันธุ์ จำนวน 15 คน
สาธิตการใช้โมเดลอาหารในหญิงตั้งครรภ์ (ซึ่งได้มาจากการทำโครงการ ของบกองทุนหลักประกันสุขภาพ เมื่อปี 2562 และมีการสาธิตแก่หญิงตั้งครรภ์ทุกวันพฤหัสบดี)
งบประมาณ
ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 300 บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 30 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ค่าวัสดุ (ปากกาและแฟ้ม) จำนวน 30 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ค่าชุดสิทธิประโยชน์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 15 ชุด (ประกอบด้วย)
นมจืดชนิดกล่องขนาด 200 ml จำนวน 1,350 กล่องๆละ 12 บาท เป็นเงิน 16,200 บาท (คนละ 90 กล่อง)
ไข่ไก่ เบอร์ 1 จำนวน 450 ฟองๆละ5 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท (คนละ 30 ฟอง)
งบประมาณ 25,950.00 บาท - 2. ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์รายละเอียด
กิจกรรมย่อย
- ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ
- แนะนำเรื่องการรับประทานอาหาร
- การสอนวิธีการนับเด็กดิ้น
- อาการผิดปกติที่ต้องรีบไปพบแพทย์
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รวมงบประมาณโครงการ 25,950.00 บาท
ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและปลอดภัยขณะตั้งครรภ์
ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการมารับบริการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์
ทำให้ลดอัตราการคลอดทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (2,500 กรัม)
ทำให้ลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ (BMI มากกว่า 19)
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................