แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง รหัส กปท. L4136
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ โดยหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการเริ่มต้นจากวัยเด็กซึ่งในปัจจุบัน พบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเฉลี่ย 373,489 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การคัดกรอง การค้นหาการช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยปี 2565 – 2567 (ที่มา:รายงาน HDC จังหวัดยะลาผลงาน Special ppพบว่า เด็กอายุ9, 18, 30, 42, 60 เดือนได้รับคัดกรองพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 91.8593.53 และ 92.19 ตามลำดับ พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 83.88 ,91.58 และ 90.56 ตามลำดับ พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 16.95 19.28 และ 18.91 ตามลำดับ สำหรับเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตาม ร้อยละ 69.40 90.76 และ 92.13และจากผลสำรวจระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี 2564 โดยกรมสุขภาพจิต พบว่าเด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของจังหวัดยะลามีไอคิวเฉลี่ยต่ำสุด คือ 93.4 (ค่าปกติ 90-110) สะท้อนให้เห็นว่ายังมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ส่งผลต่อสติปัญญาในช่วงแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งพบในกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม เช่น ครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ กลุ่มเด็กที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น ครอบครัวขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็ก ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กอายุ 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า โดยอาศัยภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งในและนอกระบบริการสาธารณสุข เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง(Triple - P) ปีงบประมาณ 2568 โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ที่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างประสบการณ์เชิงบวก นอกจากนี้เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญ เกิดความผูกพันทางอารมณ์เกิดความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่ม สามารถนำกลับไปใช้ที่บ้านได้และบอกต่อกับผู้อื่นต่อไป
- 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง (Triple - P)รายละเอียด
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน X 35 บาท X 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,900 บาท
- จัดซื้อชุดส่งเสริมเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวก (Triple-P)
จำนวน 1 ชุดๆละ 7,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน X 3 ชั่วโมง X 600 บาท X 4 ครั้ง
เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.28 x 2.50 ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 800 บาท
รวมเป็นเงิน 20,400 บาท (เงินสองหมื่นสี่ร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ รายจ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
งบประมาณ 20,400.00 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน X 35 บาท X 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,900 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
รวมงบประมาณโครงการ 20,400.00 บาท
7.1 ผู้ปกครองจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงดูเชิงบวกมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม 7.2 เด็กจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 7.3 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็กจะแน่นแฟ้นขึ้น มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น 7.4 เกิดความร่วมมือที่ดีระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง รหัส กปท. L4136
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง รหัส กปท. L4136
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................