กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง (Triple - P) ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ โดยหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการเริ่มต้นจากวัยเด็กซึ่งในปัจจุบัน พบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเฉลี่ย 373,489 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การคัดกรอง การค้นหาการช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป
จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยปี 2565 – 2567 (ที่มา:รายงาน HDC จังหวัดยะลาผลงาน Special ppพบว่า เด็กอายุ9, 18, 30, 42, 60 เดือนได้รับคัดกรองพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 91.8593.53 และ 92.19 ตามลำดับ พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 83.88 ,91.58 และ 90.56 ตามลำดับ พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 16.95 19.28 และ 18.91 ตามลำดับ สำหรับเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตาม ร้อยละ 69.40 90.76 และ 92.13และจากผลสำรวจระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี 2564 โดยกรมสุขภาพจิต พบว่าเด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของจังหวัดยะลามีไอคิวเฉลี่ยต่ำสุด คือ 93.4 (ค่าปกติ 90-110) สะท้อนให้เห็นว่ายังมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ส่งผลต่อสติปัญญาในช่วงแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งพบในกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม เช่น ครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ กลุ่มเด็กที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น ครอบครัวขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็ก
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กอายุ 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า โดยอาศัยภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งในและนอกระบบริการสาธารณสุข เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง(Triple - P) ปีงบประมาณ 2568 โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ที่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างประสบการณ์เชิงบวก นอกจากนี้เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญ เกิดความผูกพันทางอารมณ์เกิดความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่ม สามารถนำกลับไปใช้ที่บ้านได้และบอกต่อกับผู้อื่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง
2.เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กและส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
3. เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปกครองในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ตัวชี้วัด
1.ร้อยละ 70 ของพ่อ แม่ ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรมมีทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมและส่งเสริมสร้างประสบการณ์พัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย ความฉลาดทางอารมณ์ ผ่านเกณฑ์เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
3.พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีความรู้ ทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสม และสามารถสร้างประสบการณ์พัฒนาการ กิน กอด เล่น เล่า และความฉลาดทางอารมณ์ตามช่วงวัยได้เหมะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
2.ผู้ปกครองของเด็กที่กำลังศึกษาใน ศพด. 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง (Triple - P)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง (Triple - P)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน X 35 บาท X 4 ครั้ง    เป็นเงิน    4,900 บาท
  • จัดซื้อชุดส่งเสริมเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวก  (Triple-P)
      จำนวน 1 ชุดๆละ 7,500  บาท                                                     เป็นเงิน    7,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน X 3 ชั่วโมง X 600 บาท X  4 ครั้ง
                                          เป็นเงิน    7,200 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.28 x  2.50 ม. จำนวน 1 ป้าย                เป็นเงิน       800 บาท

                                 รวมเป็นเงิน 20,400 บาท (เงินสองหมื่นสี่ร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ รายจ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2568 ถึง 5 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.1 ผู้ปกครองจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงดูเชิงบวกมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
7.2 เด็กจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
7.3 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็กจะแน่นแฟ้นขึ้น มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น
7.4 เกิดความร่วมมือที่ดีระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก


>