โครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง (Triple - P) ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง (Triple - P) ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4136-3-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง |
วันที่อนุมัติ | 5 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรอฮานี ลัสสะมานอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ โดยหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการเริ่มต้นจากวัยเด็กซึ่งในปัจจุบัน พบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเฉลี่ย 373,489 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การคัดกรอง การค้นหาการช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยปี 2565 – 2567 (ที่มา:รายงาน HDC จังหวัดยะลาผลงาน Special ppพบว่า เด็กอายุ9, 18, 30, 42, 60 เดือนได้รับคัดกรองพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 91.8593.53 และ 92.19 ตามลำดับ พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 83.88 ,91.58 และ 90.56 ตามลำดับ พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 16.95 19.28 และ 18.91 ตามลำดับ สำหรับเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตาม ร้อยละ 69.40 90.76 และ 92.13และจากผลสำรวจระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี 2564 โดยกรมสุขภาพจิต พบว่าเด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของจังหวัดยะลามีไอคิวเฉลี่ยต่ำสุด คือ 93.4 (ค่าปกติ 90-110) สะท้อนให้เห็นว่ายังมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ส่งผลต่อสติปัญญาในช่วงแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งพบในกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม เช่น ครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ กลุ่มเด็กที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น ครอบครัวขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็ก ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กอายุ 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า โดยอาศัยภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งในและนอกระบบริการสาธารณสุข เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง(Triple - P) ปีงบประมาณ 2568 โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ที่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างประสบการณ์เชิงบวก นอกจากนี้เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญ เกิดความผูกพันทางอารมณ์เกิดความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่ม สามารถนำกลับไปใช้ที่บ้านได้และบอกต่อกับผู้อื่นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 35 | 20,400.00 | 0 | 0.00 | 20,400.00 | |
1 มิ.ย. 68 - 17 ส.ค. 68 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวกให้แก่ผู้ปกครอง (Triple - P) | 35 | 20,400.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 35 | 20,400.00 | 0 | 0.00 | 20,400.00 |
7.1 ผู้ปกครองจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงดูเชิงบวกมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม 7.2 เด็กจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 7.3 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็กจะแน่นแฟ้นขึ้น มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น 7.4 เกิดความร่วมมือที่ดีระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2568 00:00 น.