แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางสุวิญชา หนองหัด
2. นางชไมพร พงษ์สวัสดิ์
3. นางรวมพรสัมฤทธิ์
4. นางเรณูกลั้งเนียม
5. นางละมัยรัตนแก้ว
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนอกจากจะมีอัตราการเกิดโรคสูงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว อีกทั้งภาครัฐยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลรักษาโรคเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของการรักษาทางการแพทย์ การให้ยา และการติดตามผล ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักต้องได้รับการดูแลแบบต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งประกอบด้วยการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การพบแพทย์ตามนัดหมาย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การควบคุมอารมณ์ รวมถึงการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่อาจมีความผิดปกติที่เท้า เช่น อาการชาตามปลายเท้า แผลเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งการสูญเสียอวัยวะ หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทยมาใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ เช่น การใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลเท้าและเสริมสร้างการไหลเวียนโลหิต การแช่เท้าด้วยสมุนไพรถือเป็นหนึ่งในวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ มีคุณสมบัติในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย บรรเทาอาการชาตามปลายเท้า กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และยังเสริมสร้างความรู้สึกผ่อนคลายทั้งกายและใจ จากข้อมูลของชมรมผู้สูงอายุตำบลควนเมา พบว่าในปี พ.ศ. 2568 มีสมาชิกจำนวน 204 คน โดยในจำนวนนี้ มีผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 24.50 ซึ่งส่วนใหญ่ประสบกับอาการปวดเท้า ชาตามปลายเท้า หรือมีปัญหาด้านผิวหนังบริเวณเท้าอยู่เป็นประจำ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหว และความสามารถในการดูแลตนเอง ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนเมา จึงเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเท้าในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบของการแช่เท้าเพื่อสุขภาพ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านที่หาได้ง่ายในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “แช่เท้าด้วยสมุนไพรในกลุ่มผู้สูงอายุ” ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพเท้าด้วยตนเอง ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
-
1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าในผู้สูงอายุตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าในผู้สูงอายุขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ มีทักษะในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแช่เท้าด้วยสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแช่เท้าด้วยสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
1.1 การดูแลสุขภาพเท้าและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าในผู้สูงอายุ
1.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรที่นำมาใช้ในการแช่เท้า
งบประมาณ
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 50 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
3.ค่าอาหาร จำนวน 50 คนๆละ 75 บาทเป็นเงิน 3,750 บาท
4.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 300 บาท
5.เอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
งบประมาณ 10,550.00 บาท - 2. ฝึกปฏิบัติรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
2.1 ฝึกปฏิบัติแช่เท้าด้วยสมุนไพร กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน
งบประมาณ
หม้ออลูมิเนียม 2 หู เบอร์ 36 จำนวน 1 ใบ เป็นเงิน 1,500 บาท
กระบวยตักน้ำสแตนเลส ขนาด 7 นิ้ว จำนวน 1 อัน เป็นเงิน 250 บาท
ผ้าขนหนู ขนาด 12 x 12 นิ้ว จำนวน 50 ผืนๆละ 15 บาท เป็นเงิน 750 บาท
เก้าอี้ทรงเตี้ย ขนาด 24 x 24 x 22 ซม. จำนวน 50 ตัวๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
กะละมัง ขนาด 10 ลิตร จำนวน 50 ใบๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
งบประมาณ 6,000.00 บาท - 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาการรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
3.1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาการ หลังฝึกปฏิบัติแช่เท้าด้วยสมุนไพร
งบประมาณ 0.00 บาท - 4. แช่เท้าด้วยสมุนไพรอย่างต่อเนื่องรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
4.1 แช่เท้าด้วยสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รวมงบประมาณโครงการ 16,550.00 บาท
ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าในผู้สูงอายุ
เกิดการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแช่เท้าด้วยสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................