กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง

ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) สูงถึง 62,138 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2560 และมีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs มากกว่า 400,000 รายต่อปี โรค NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารหวานจัด เค็มจัด ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะเครียดสะสม ซึ่งล้วนเป็นภัยเงียบที่สะสมอาการจนกลายเป็นโรคเรื้อรังในระยะยาว เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ผลักดันนโยบาย “คนไทยห่างไกล NCDs” ผ่านแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับชุมชน โดยจัดตั้ง “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs” ขึ้นในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมกิจกรรมสุขภาพ และคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชนก่อนที่จะเข้าสู่ระบบการรักษา
ในปัจจุบันพบว่าประชาชนจำนวนมากยังขาดความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพ และมีพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรค NCDs อาทิ การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม การขาดกิจกรรมทางกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ และความเครียด ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตำบลควนเมา จึงได้จัดทำโครงการ “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยในชุมชน ได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตระหนักถึงภัยเงียบของโรคเหล่านี้ และเกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรค ลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงของผู้ป่วยรายเก่า และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชนในระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันและป้องกันตนเองไม้ให้เกิดโรคได้

ร้อยละ 80 ของกลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันและป้องกันตนเองไม้ให้เกิดโรคได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 13
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้ง “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา”

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้ง “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

        1.1 กิจกรรมประชุมชี้แจงคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ระดับหมู่บ้าน จำนวน 35 คน

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 35 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 875 บาท

2.ค่าแฟ้มสันหนา A4 ขนาด 2 นิ้ว (สีดำ) จำนวน 1 แฟ้ม เป็นเงิน 190 บาท

3.ค่ากระดาษ A4 จำนวน 1 ห่อ เป็นเงิน 125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1190.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

2.1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผ่าน “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา” จำนวน 13 คน จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง ต่อเนื่อง 3 เดือน (รวม 3 ครั้ง)

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3 มื้อๆละ 13 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 975 บาท

2.ค่าวิทยากรกลุ่มย่อย 3 ท่านๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

3.ค่าป้าย “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา” วัสดุ พลาสวูด ขอบสแตนเลส ขนาด 50*150 เซนติเมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 3,000 บาท

4.ค่าป้ายฐานตั้งโต๊ะ วัสดุอะคริลิค ขนาด A4 จำนวน 5 แผ่นๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

5.ค่าป้ายโฟมบอร์ดความรู้ประจำฐาน 5 ฐาน ขนาดA2 จำนวน 5 แผ่นๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000บาท

6.ค่าสมุดบันทึกสุขภาพพร้อมความรู้ในเล่ม จำนวน 13 เล่มๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท

7.ค่าเครื่องวัดความเค็ม 3 เครื่องๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

8.ค่าเครื่องวัดความดันอัตโนมัติ 3 เครื่องๆละ 2,800 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท

9.ค่าสายวัดรอบเอว BMI พกพา 3 ชิ้นๆละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท

10.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล 1 เครื่อง เป็นเงิน 750 บาท

11.ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 2 เครื่องๆละ 2,800 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท

12.เครื่อง Body composition 1 เครื่อง เป็นเงิน 6,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,565.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

2. กลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันและป้องกันตนเองไม้ให้เกิดโรคได้


>