ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา
ชื่อโครงการ | ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา |
รหัสโครงการ | 68-L1513-01-012 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง |
วันที่อนุมัติ | 17 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 37,565.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายทวี จบสองชั้น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 13 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) สูงถึง 62,138 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2560 และมีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs มากกว่า 400,000 รายต่อปี โรค NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารหวานจัด เค็มจัด ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะเครียดสะสม ซึ่งล้วนเป็นภัยเงียบที่สะสมอาการจนกลายเป็นโรคเรื้อรังในระยะยาว เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ผลักดันนโยบาย “คนไทยห่างไกล NCDs” ผ่านแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับชุมชน โดยจัดตั้ง “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs” ขึ้นในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมกิจกรรมสุขภาพ และคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชนก่อนที่จะเข้าสู่ระบบการรักษา ในปัจจุบันพบว่าประชาชนจำนวนมากยังขาดความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพ และมีพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรค NCDs อาทิ การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม การขาดกิจกรรมทางกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ และความเครียด ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตำบลควนเมา จึงได้จัดทำโครงการ “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยในชุมชน ได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตระหนักถึงภัยเงียบของโรคเหล่านี้ และเกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรค ลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงของผู้ป่วยรายเก่า และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชนในระยะยาว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง |
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันและป้องกันตนเองไม้ให้เกิดโรคได้ ร้อยละ 80 ของกลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันและป้องกันตนเองไม้ให้เกิดโรคได้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 48 | 37,565.00 | 0 | 0.00 | |
20 มิ.ย. 68 | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | 13 | 36,375.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 | จัดตั้ง “ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในตำบลควนเมา” | 35 | 1,190.00 | - |
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
กลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันและป้องกันตนเองไม้ให้เกิดโรคได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2568 00:00 น.