แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการเยาวชน สกร. สุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ
ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลอุใดเจริญ
1.นายเอกสิทธิ์ โอนิกะประธานองค์กร
2.นายเชาวนนท์ ทองไทย กรรมการ
3.นางสาวสุจิรา ล่าประไพกรรมการ
4.นางสาวสโรชา ลิมานนท์กรรมการ
5.นายธนบดี ศรีภักดี กรรมการ
6.นางสาวกัญชลิกา องศาราครูที่ปรึกษา
ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลอุใดเจริญ
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 47 กำหนดให้สร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ประกอบกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของนักศึกษา สกร.ระดับอำเภอควนกาหลง พบประเด็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ดังนี้
นักศึกษาร้อยละ 25 มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม (ทั้งน้ำหนักเกินและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) นักศึกษาร้อยละ 30มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ การบริโภคน้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบ นักศึกษาร้อยละ 40 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ พบปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด วิตกกังวล ในนักศึกษาร้อยละ 15 นอกจากนี้ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า:เยาวชนมีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ตั้งแต่อายุยังน้อย การใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมส่งผลต่อปัญหาสายตาและกระดูกและกล้ามเนื้อ
ศกร.ระดับตำบลอุใดเจริญ ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพนักศึกษาแบบองค์รวม และเห็นความจำเป็นในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพนักศึกษาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดจัด การดำเนินโครงการ "เยาวชน สกร. สุขภาพดี ชีวีมีสุข" จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้แก่นักศึกษา ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักศึกษาอย่างยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น :
กำหนดเสร็จ :
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. นักศึกษา ศกร.ระดับตำบลอุใดเจริญ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีขึ้น มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตได้ดีขึ้น
2. ร้อยละ 80 ของนักศึกษา ศกร.ระดับตำบลอุใดเจริญ เลือกทานอาหารที่เหมาะสมและทำกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ นักศึกษาจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
3, ร้อยละ 80 ของ นักศึกษา ศกร.ระดับตำบลอุใดเจริญ มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข