2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สถานการณ์ปัจจุบันมีผู้สูงอายุในประเทศไทยถึง 10 ล้านคนหรือคิดเป็น16%ของประชากรทั้งหมดและมีการคาดการณ์ว่าในปี 2568ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุกๆด้านรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจและมีปัจจัยเหนี่ยวนำที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร่วมกันคือพฤติกรรมสุขภาพทั้งในเรื่องของพฤติกรรมการบริโภคผัก การลดการบริโภค หวาน มัน เค็ม การเคลื่อนไหวออกแรงที่เพียงพอ การนอนหลับอย่างมีคุณภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากซึ่งจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 9 เมื่อปี 2563 พบว่า ประชากรก่อนวัยสูงอายุ25-59 ปี มีการเตรียมการเพื่อยามสูงอายุโดยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพียงร้อยละ 28.1 เท่านั้น ซึ่งสัมพันธ์กับสถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พื้นที่จังหวัดพัทลุง จากระบบรายงาน HDC พบว่า ปีงบประมาณ 2568 มีการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองร้อยละ 93 (เป้าหมายร้อยละ 90) และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง Pre-DM ร้อยละ 0.25 ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (ร้อยละ2.4) ซึ่งพบว่าอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น การดูแลสุขภาพประชาชนวัยทำงานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพตั้งแต่วัยก่อนเข้าผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุภาวะร่างกายมีความเสื่อมถอยตามอายุ มีภูมิต้านทานโรคต่ำลง มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายการที่จะดูแลสุขภาพเมื่อเสื่อมแล้วเป็นการยากต่อการฟื้นฟูสุขภาพให้ดีดังเดิม เพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียนจึงได้ร่วมกันดำเนินการพัฒนาระบบสถานีสุขภาพต้นแบบ ปีงบประมาณ 256๘ เพื่อเตรียมรองรับประชากรไทยเข้าสู่รองรับประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย เพื่อให้ประชากรในพื้นที่เข้าถึงระบบการคัดกรองได้เพิ่มขึ้น และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อเตรียมรองรับประชากรไทยเข้าสู่สังคม เพื่อให้ประชาชนรับรู้ ความเสี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ประชาชนมีสมุดสุขภาพประจำตัว (Personal Health Record) มีความพร้อมในการเข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ สามารถจัดการสุขภาพของตนเอง และก้าวเข้าสู่ผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาวะที่ดี จนกระทั่งสามารถบอกต่อผู้อื่นที่อยู่ในชุมชนได้ รับรองสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 29/05/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑.ประชาชนในพื้นที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสม
2.บุคลากรสาธารณสุขได้ใช้ประโยชน์ระบบที่พัฒนาเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ