แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง
ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม ที่มีผลมาจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบสารสนเทศ ซึ่งแม้จะนำมาซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตในหลายด้าน แต่อีกด้านหนึ่งกลับส่งผลกระทบเชิงลบต่อพฤติกรรมของประชาชน ทำให้เกิดวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารแปรรูป อาหารหวานจัด เค็มจัด การขาดกิจกรรมทางกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นอนหลับไม่เพียงพอ มีภาวะเครียดสะสม และไม่สามารถจัดการสุขภาพจิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งนับเป็นภัยเงียบที่ค่อย ๆ คุกคามสุขภาพของประชาชน โดยไม่มีอาการชัดเจนในระยะแรก ส่งผลให้ผู้ป่วยจำนวนมากเข้าสู่ระบบการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว นำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ครอบครัว และระบบเศรษฐกิจโดยรวม จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค NCDs สูงกว่า 62,138 ล้านบาทในปี 2560 และมีประชากรไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs มากกว่า 400,000 รายต่อปี อีกทั้งยังมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากค่ารักษาพยาบาลโดยตรงและผลกระทบทางอ้อมสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี สถานการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเร่งดำเนินมาตรการป้องกัน ควบคุม และลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระดับปัจเจกและชุมชน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงของโรคในรายเดิม และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาว หนึ่งในแนวทางสำคัญคือการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก “วิถีธรรม วิถีไทย” ด้วยการประยุกต์ใช้หลัก 3 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ร่วมกับ 3 ส. ได้แก่ สวดมนต์ สมาธิ และสนทนาธรรม และหลัก 1 น. คือการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิต ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนไทย เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “ควนเมาสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยหลัก 3 อ. 3 ส. 1 น.” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ผ่านแนวคิดที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและหลักธรรมะไทย โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน นำไปสู่การลดอัตราการป่วยและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตำบลควนเมา ให้มีสุขภาวะที่ดี ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมอย่างแท้จริง
-
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3 อ. 3 ส. 1 น.ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3 อ. 3 ส. 1 น.ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่องตามหลัก 3 อ. 3 ส. 1 น.ตัวชี้วัด : ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่องตามหลัก 3 อ. 3 ส. 1 น.ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. อบรมให้ความรู้รายละเอียด
กิจกรรมย่อย
1.1 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ
อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยหลัก สุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย จำนวน 65 คน (หมู่บ้านละ 5 คน 13 หมู่บ้าน ) โดยจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
ฐานที่ 1 กิจกรรม 3 อ. ประกอบด้วย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลอารมณ์
ฐานที่ 2 กิจกรรม 3 ส. ประกอบด้วย การฝึกสมาธิบำบัด (SKT)
ฐานที่ 3 กิจกรรม 1 น. เรียนรู้การใช้ชีวิตโดยใช้หลักนาฬิกาชีวิต
ฐานที่ 4 การบันทึกการปฏิบัติตัว
งบประมาณ
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 65 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 ชุดๆละ 75 บาท เป็นเงิน 4,875 บาท
ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 300 บาท
ค่าเอกสารความรู้วิถีธรรมวิถีไทย จำนวน 65 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง จำนวน 65 ชุดๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 260 บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม (แฟ้ม, สมุด) จำนวน 65 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
ฮูลาฮูป ขนาด 2 กิโลกรัม จำนวน 10 อันๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
เสื่อโยคะ ขนาด 10 มิลลิเมตร จำนวน 20 แผ่นๆละ 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
สติกเกอร์ติดโฟมบอร์ด (ประจำฐาน) ขนาด 0.8*0.4 เมตร จำนวน 4 แผ่นๆละ 208 บาท เป็นเงิน 832 บาท
สติกเกอร์ติดโฟมบอร์ด (นาฬิกาชีวิต) ขนาด 1*1 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 650 บาท
งบประมาณ 22,517.00 บาท - 2. ติดตามผลรายบุคคลรายละเอียด
กิจกรรมย่อย
2.1 ติดตามการปฏิบัติตนหลังการจัดกิจกรรมรายบุคคล
งบประมาณ
- แบบบันทึกการปฏิบัติตัว ตามหลักวิถีธรรมวิถีไทย (3 ส. 3 อ. 1 น.) จำนวน 65 เล่มๆละ 15 บาท เป็นเงิน 975 บาท
งบประมาณ 975.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
รวมงบประมาณโครงการ 23,492.00 บาท
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ตามหลัก 3 อ. 3 ส. 1 น.
- ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ สามารถพึ่งพาตนเองในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้
- ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและยั่งยืน
- ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลัก 3 อ. 3 ส. 1 น. ไปยังสมาชิกในครอบครัว ชุมชน หรือกลุ่มเป้าหมายอื่นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา รหัส กปท. L1513
อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................