กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านทรายแก้ว

หมู่ 3 บ้านทรายแก้ว ,ม.4 บ้านบายิ ,ม.10 บ้านหาดทรายตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมีแนวโน้มทวีความรุนแรงของการระบาดเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ทั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่ามีความชุกชมของลูกน้ำยุงมีค่อนข้างสูง อันเนื่องมาจากการจัดการด้านสุขาภิบาลไม่ดี ทำให้เกิดการถ่ายเทของเชื้อไวรัส จึงทำให้ชุมชนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาด เขตพื้นที่ม.3 ม.4และม.10 ตำบลตลิ่งชัน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ปื 2567พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย, ม.3 พบผู้ป่วย 9 ราย, หมู่4 พบผู้ป่วย 2 รายและ หมู่10 พบผู้ป่วย 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย269.72ต่อแสนประชากรจะเห็นได้ว่าพบอัตราการรเกิดโรคไข้เลือดออกทุกปี ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ปัญหาของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย พบได้ต่อเนื่องในม.3 ม.4และม.10 ตำบลตลิ่งชัน เกือบทุกปี แต่ยังไม่พบความรุนแรงในพื้นที่ เนื่องจากได้มีการรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านทรายแก้ว ตำบลตลิ่งชัน จึงเห็นความจำเป็นและความสำคัญที่จะต้องดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมในเขตม.3,ม.4และม.10 ตำบลตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชน ที่มีความเสี่ยงได้มีความรู้ด้านปัญหาของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

ร้อยละ80 ของประชาชนในชุมชน ที่มีความเสี่ยงได้รับความรู้และมีความตระหนักในการป้องกันตัวเองจากโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

0.00
2 2. เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในเขตม.3,ม.4 และม.10 ตำบลตลิ่งชัน

ร้อยละ80ในเขตม.3,ม.4  และม.10 ตำบลตลิ่งชัน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย

0.00
3 3. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในเขตม.3,ม.4 และม.10 ตำบลตลิ่งชัน

ร้อยละ80 ในเขตม.3,ม.4 และม.10 ตำบลตลิ่งชันลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรียและโรคระบาดในพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรียและโรคระบาดในพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร400 บาท x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน2,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 50 บาท x 60 คนเป็นเงิน3,000 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 35 บาท x 60 คนเป็นเงิน4,200 บาท 4.ค่าจัดทำป้ายไวนิลจัดทำโครงการ ขนาด1.2x2.4 เมตร 1 ผืนเป็นเงิน1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ และสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 2 จัดกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดย อสม.และประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
2 จัดกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดย อสม.และประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าถุงดำขนาด 32x40 จำนวน 5แพ็ค x 50บาท            เป็นเงิน     250 บาท 2.ถุงมือจำนวน 5กล่อง x 65บาท                    เป็นเงิน     325 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม  วันละ 1 มื้อ x 3 วัน x 35 บาท x 100 คน      เป็นเงิน 10,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บริเวณหมู่บ้านสะอาด ปราศจากยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11075.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,275.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมึความรู้และมีความตระหนักในการป้องกันตัวเองจากโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย
2.เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
3.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่


>