2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออก มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้เลือดออกจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคลต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มี หรือมีจำนวนน้อย และที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคล ต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุม หรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ทำได้ ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน
อำเภอบันนังสตาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลาที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 อัตราป่วย 136.52,16.42,35.85,475.46,302.42 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกคาดการณ์อาจจะมีการระบาดต่อเนื่องในปี 2568 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มี 11 หมู่บ้าน พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2567 จำนวน 50 ราย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน พบผู้ป่วยทุกๆปี ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 พบว่า มีอัตราป่วย00.00, 00.00, 91.82, 546.44, 637.522 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ และพบว่า ปี 2567 อุบัติการณ์สูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง จึงมีโอกาสที่ในปี 2568 จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านสายตาเอียด หมู่ที่ 5 ตำบลตลิ่งชันอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงสภาพแวดล้อม กำจัดขยะ และแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จึงได้จัดทำโครงการ “บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในเขตรับผิดชอบมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดของบ้านเรือน และร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน ในที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง สามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และบ้านเรือนประชาชน ต้นแบบ ด้านการดูแลบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบ ผ่านเกณฑ์การประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดในบ้านเรือน และในชุมชน
3.บ้านเรือนสะอาด ชุมชนมีการจัดการกำจัดขยะที่ถูกวิธี แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายชุมชนลดลง สามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้
4.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง