โครงการบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L4123-02-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านสายตาเอียด |
วันที่อนุมัติ | 25 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอาตีกะห์ มูดอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 37 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไข้เลือดออกจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคลต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มี หรือมีจำนวนน้อย และที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคล ต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุม หรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ทำได้ ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน
อำเภอบันนังสตาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลาที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 อัตราป่วย 136.52,16.42,35.85,475.46,302.42 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกคาดการณ์อาจจะมีการระบาดต่อเนื่องในปี 2568 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มี 11 หมู่บ้าน พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2567 จำนวน 50 ราย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน พบผู้ป่วยทุกๆปี ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 พบว่า มีอัตราป่วย00.00, 00.00, 91.82, 546.44, 637.522 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ และพบว่า ปี 2567 อุบัติการณ์สูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง จึงมีโอกาสที่ในปี 2568 จะเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านสายตาเอียด หมู่ที่ 5 ตำบลตลิ่งชันอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงสภาพแวดล้อม กำจัดขยะ และแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จึงได้จัดทำโครงการ “บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในเขตรับผิดชอบมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดของบ้านเรือน และร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน ในที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง สามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้บ้านเรือนสะอาด สามารถควบคุมค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน และสามารถเป็นบ้านเรือนต้นแบบด้านความสะอาด ไม่พบลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง โดยวัดจากค่า HI (จำนวนบ้านพบลูกน้ำยุงลาย)ไม่เกินร้อยละ 20 ค่า CI (จำนวนภาชนะพบลูกน้ำยุงลาย)ไม่เกินร้อยละ 10 |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อค้นหา อสม.และประชาชน ต้นแบบ ด้านการดูแลบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบตอนเอง ผ่านการประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 100 ของบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบของ อสม.ต้นแบบมีความสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก |
0.00 | |
3 | 3. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือด ลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2563 - 2567) |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,600.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมลงพื้นที่ เพื่อประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย | 0 | 20,600.00 | - |
1.มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และบ้านเรือนประชาชน ต้นแบบ ด้านการดูแลบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบ ผ่านเกณฑ์การประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดในบ้านเรือน และในชุมชน
3.บ้านเรือนสะอาด ชุมชนมีการจัดการกำจัดขยะที่ถูกวิธี แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายชุมชนลดลง สามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้
4.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2568 00:00 น.