2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี โดยจากการวิเคราะห์การเกิดโรคในพื้นที่พบว่า กลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มที่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ซึ่งมีสาเหตุการเกิดโรคทีมียุงลายเป็นพาหะซึ่งพบว่าโรงเรียนมีค่าCI ที่เกินมาตราฐาน เนื่องจากนักเรียนยังขาดความรู้และความตระหนักในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดทำสื่อในการสื่อสารภายในโรงเรียน การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกและสถิติการแพร่ระบาดในโรงเรียนในกลุ่มอายุ 0-15 ปี ในเขตตำบลบันนังสตา ปี พ.ศ 2565-2567 พบผู้ป่วยปี 2565 จำนวน 0 ราย อัตราป่วย 0 ต่อแสนประชากร ปี 2566 พบผู้ป่วย จำนวน 52 ราย อัตราป่วย 423.17 ต่อแสนประชากรและพบผู้ป่วยปี 2567 จำนวน 41 ราย อัตราป่วย 299.18 ต่อแสนประชากร
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนหน่วยงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลบันนังสตาจึงได้จัดทำ “โครงการ พัฒนาศักยภาพการจัดการค่า CI ในโรงเรียนโดยนักเรียนมีส่วนร่วม”เพื่อสร้างกระแสและเป็นกำลังเสริมในด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออกและลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?