กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเครือข่ายนมแม่ชุมชนบ้านแฉงแหวง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอสม.บ้านแฉงแหวง ม.5 ตำบลตุยง

1. นางพรพิศ แซ่ตัน
2. นางวาสนา จินตพันธ์
3. นางปาตีเมาะ มะเส็ง
4. นางสาวมาซีเตาะ มูหิ
5.นางสาวแวเยาะ เจะดือเระ

หมู่ที่ 5 บ้านแฉงแหวง ตำบลตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความเจริญทางเทคโนโลยีและนวัตรกรรมทางการแพทย์ลาธารณสุขเป็นเหตุให้มนุษย์ชาติมีอายุยืนยาวขึ้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควบคู่กับการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของทารก เป็นจุดเริ่มต้นและพื้นฐานสำคัญในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโต แข็งแรงสมบูรณ์จากการศึกษาพบว่า นมแม่มีผลต่อพัฒนาการด้านกระบวนการรับรู้ การคิดของเด็ก ช่วยปกป้องทารกจากโรคติดเชื้อ และโรคเรื้อรังต่างๆนอกจากนั้นยังพบว่าพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กที่กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง จะมีเชาว์ปัญญาที่ดีกว่าเด็กที่กินนมผสม โดยพบว่า เด็กที่กินนมแม่มานาน 9 เดือน จะมีเชาว์ปัญญาเฉลี่ยอยู่ที่ 104 สูงกว่ากลุ่มที่กินนมแม่น้อยกว่า 1 เดือน ซึ่งมีระดับเชาว์ปัญญาอยู่ที่ 94.4ซึ่งสรุปได้ว่า ต้นทุนทางสมองที่ดีของเด็กแต่ละคน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับนมแม่จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของชุมชนบ้านแฉงแหวง หมู่ 5 ตำบลตุยงในปีงบประมาณ 2567 อยู่ที่ ร้อยละ 50
ดังนั้นการพัฒนาประชากรแม่และเด็กสู่ความยั่งยืน และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาการดำเนินงานอย่างบูรณาการตามกระบวนการคุณภาพ เชื่อมโยงสู่ครัวเรือน และชุมชนเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตลอดจนการสร้างความรัก ความอบอุ่น ให้เกิดสายใยรัก สายใยความผูกพันในครอบครัว จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นให้การสนับสนุนช่วยเหลือกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องนมแม่ วิธีการทำให้มีน้ำนมเพียงพอและวิธีการเก็บนมที่ถูกต้อง

หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เฉลี่ยที่ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

40.00 38.00
2 เพื่อรณรงค์ให้มารดามีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือน

ร้อยละ 60 ขึ้นไป ของหญิงหลังคลอดมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

10.00 6.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ชุมชนมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแกนนำเครือข่ายนมแม่บ้านแฉงแหวง  หมู่.5  ตำบลตุยง งบประมาณ - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมอย่างต่อเนื่องก่อนการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมความรู้

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เรื่อง“นมแมดีที่สุดสำหรับลูก” งบประมาณ      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท 2 มื้อ   เป็นเงิน  2,800 บาท      - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 60 บาท   เป็นเงิน   2,400  บาท      - ค่าสัมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท   เป็นเงิน  1,800 บาท      - ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย (ขนาด 1.2 x 2.4 ม.)   เป็นเงิน  720 บาท      - ค่าชุดโมเดลสาธิตการให้นมแม่   เป็นเงิน  5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นและนำสู่การปฏิบัติในการให้นมลูก
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนัก เกิดกระแสการให้นมลูกในชุมชน
  3. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12720.00

กิจกรรมที่ 3 รุกบ้าน รุกชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รุกบ้าน รุกชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การติดตามเยี่ยมหลังคลอดโดยเครือข่ายสุขภาพ อสม.บ้านแฉงแหวง  หมู่ 5 ให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
งบประมาณ
    - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการติดตามหญิงหลังคลอดทุกเคส และประเมิน แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  2. สร้างชุมชนเข้มแข็ง สามัคคีในหมู่คณะ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน ประเมินผลโครงการ แกนนำเครือข่ายนมแม่บ้านแฉงแหวง
งบประมาณ
      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 35 บาท x 3 ครั้ง  เป็นเงิน    1,050  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความตระหนักในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  2. มีข้อมูลในการสรุปเพื่อทำรายงานส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,770.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
1. ประชุมแกนนำเครือข่ายนมแม่บ้านแฉงแหวงหมู่.5ตำบลตุยง
2. อบรมให้ความรู้เรื่อง “นมแม่ดีที่สุดสำหรับลูก”
3. การติดตามเยี่ยมหลังคลอดโดยเครือข่ายสุขภาพ อสม.บ้านแฉงแหวงหมู่ 5 ให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
4. ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงหลังคลอด เครือข่ายสุขภาพมีความรู้เรื่องนมแม่ วิธีการทำให้มีน้ำนมเพียงพอและวิธีการเก็บนมที่ถูกต้อง
2. ประชาชนในพื้นที่ตระหนักเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก


>