กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

ชมรมตาดีกาตำบลปุโละปุโย

1.นายมูฮัมหมัดเฟาซี มะเซ็ง
2.นายมะหะมะยะกี กะลูแป
3.นายอับดุลอาซิซ ยูโซะ
4.นายสูดิรมาน อาแว
5.นายอามิน สาอิ

ตำบลปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

50.00

จังหวัดปัตตานีเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประชากรวัยเยาว์จำนวนมาก โดยเฉพาะในระดับตำบลและหมู่บ้านที่มีการจัดการชุมชนในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตาดีกา ซึ่งทำหน้าที่ไม่เพียงแต่ส่งเสริมด้านศาสนา แต่ยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเยาวชนในหลากหลายมิติ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชุมชนในจังหวัดปัตตานีกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขาดระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และขาดการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วัยเด็ก ขยะจำนวนมากไม่ได้รับการคัดแยกหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของชุมชน และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย ซึ่งมีชุมชนขนาดเล็กและระบบการจัดเก็บขยะที่ยังไม่ทั่วถึง การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดขยะและการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องให้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชน จึงเป็นแนวทางสำคัญที่ไม่เพียงแต่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการวางรากฐานที่แข็งแรงในการพัฒนาเยาวชนให้มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม

ชมรมตาดีกาตำบลปุโละปุโย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำงานใกล้ชิดกับเยาวชน จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดโครงการ “ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้รับความรู้ มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการจัดการขยะ และสามารถขยายผลสู่ครัวเรือนและชุมชน โดยมีการจัดตั้งแกนนำในแต่ละหมู่บ้าน และมีระบบติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

40.00 60.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชนและครัวเรือน

เด็กและเยาวชนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชนและครัวเรือน

20.00 60.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในชุมชนรู้จักการจัดการขยะที่ถูกต้องและตระหนักถึงปัญหาโรคที่มากับขยะ

เด็กและเยาวชนในชุมชนรู้จักการจัดการขยะที่ถูกต้องและตระหนักถึงปัญหาโรคที่มากับขยะ

20.00 50.00
4 3. เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละหมู่บ้าน

มีแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละหมู่บ้าน

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมจัดตั้งแกนนำเยาวชนสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมจัดตั้งแกนนำเยาวชนสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • คัดเลือกแกนนำเยาวชนแต่ละหมู่บ้าน
  • ออกแบบบทบาทหน้าที่ของแกนนำ
  • กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนและรายงานผลในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 5 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

•  เกิดแกนนำเยาวชนที่เข้มแข็งในแต่ละหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • หัวข้อ: ปัญหาขยะและผลกระทบ / การคัดแยกขยะ / ขยะกับสุขภาพ / แนวทางลดขยะในชีวิตประจำวัน
  • วิธีการ: บรรยาย / สื่อวิดีโอ / แลกเปลี่ยนความเห็น

ค่าใช้จ่าย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 120 คนๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม 120 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 7,200 บาท
ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท ป้ายไวนิลโครงการ 1.2 x 3 เมตรเป็นเงิน720 บาท ค่าเช่าและควบคุมเครื่องเสียง (เหมาจ่าย)880 บาท
ค่ากระเป๋าผ้า 120 ใบๆละ 45บาท เป็นเงิน5,400 บาท ปากกา120 ด้ามๆละ 13 บาท เป็นเงิน1,560 บาท ค่าสมุด 120 เล่มๆละ 20 บาทเป็นเงิน2,400 บาท กระดาษบรูฟ20 แผ่นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท กระดาษ A41 รีมๆละ 120 บาท เป็นเงิน 120 บาท ปากกาเคมี20 แท่งๆละ 25 บาทเป็นเงิน 500 บาท
ดินสอสี 20 กล่องๆละ 45 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เยาวชนมีความรู้และพฤติกรรมที่เหมาะสมในการจัดการขยะ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31880.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมปฏิบัติการคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมปฏิบัติการคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ลงพื้นที่จำลองสถานการณ์ เก็บขยะ
  • สาธิตวิธีการจัดเตรียมถังแยกขยะ และ“คัดแยกขยะ”
  • ฝึกคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ค่าใช้จ่าย ค่าถังขยะแยกประเภท2 ชุดๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน8,000 บาท ค่าถุงขยะ1 ถุงๆละ120 บาท, เป็นเงิน 120 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการขยะ และสามารถคัดแยกขยะได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8120.00

กิจกรรมที่ 4 4. กิจกรรมติดตามผลการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
4. กิจกรรมติดตามผลการคัดแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แกนนำเยาวชนและผู้รับผิดชอบลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน
  • เก็บข้อมูลภาพถ่ายหรือแบบสอบถาม
  • ประเมินพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับความรู้
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ครัวเรือนในชุมชนมีพฤติกรรมในการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น
  • สภาพแวดล้อมในชุมชนสะอาดและปลอดภัยมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 5. กิจกรรมสรุปและรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
5. กิจกรรมสรุปและรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เก็บรวบรวมข้อมูลจากกิจกรรมอบรมและการติดตามการคัดแยกขยะที่บ้าน
  • ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะและแนวทางการต่อยอด
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวน 1 ฉบับรายงานผลโครงการที่สมบูรณ์ แบบประเมินความพึงพอใจที่ผ่านการรวบรวมและวิเคราะห์แล้ว ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการต่อยอดหรือขยายผลในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคักแยกขยะ
ลดปริมาณขยะในชุมชน และมีการคัดแยกขยะที่ต้นทางมากขึ้น
เยาวชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ
เกิดแกนนำเยาวชนที่สามารถขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนได้จริง


>